การมีส่วนร่วมของประชาคมตามหลักอริยสัจ 4 ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
Community Participation based on The Four Noble Truths in the Preparation of Local Development Plan of Khampom Subdistrict Administrative Organization, Wapi Pathum District, Maha Sarakham Province
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาคมตามหลักอริยสัจ 4ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาคมตามหลักอริยสัจ 4ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 3) เพื่อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาคมตามหลักอริยสัจ 4ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาคมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 16 หมู่บ้าน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.80-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t–test (Independent Samples) และ F-test (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาคมตามหลักอริยสัจ 4 ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการรองลงมา ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล 2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วม ของประชาคมตามหลักอริยสัจ 4 ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามการประกอบอาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาคมตามหลักอริยสัจ 4 ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ประชาชนควรมีส่วนร่วมประชุมเพื่อนำเสนอเรื่องต่างๆ ที่มีความจำเป็นในการพัฒนามีส่วนในการตัดสินใจวางแผน ร่วมสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการพัฒนาชุมชนหรือแก้ปัญหาชุมชนให้เหมือนปัญหาของตนเอง กระตุ้นให้ชุมชนจะมีความรู้สึกในความเป็นเจ้าของ ทำให้การพัฒนามีความมั่งคงถาวร มีส่วนในการติดตามผลการดำเนินงานของโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาต่างๆ ในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
References
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง. (2564). ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง. กรุงเทพฯ : สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี.
ณัฐวัฒน์ สิริพรวุฒ. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลพรหมบุรีจังหวัดสิงห์บุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 8(1). 10-23.
มธุรดา ศรีรัตน์. (2554). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564. จาก www.gotoknow.org
ยอดอาวุธ โพธิ์ศรีขาม, ไพรัช พื้นชมพู. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาคมในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลา อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 6(2). 140-151.
สุรศักดิ์ พันธุ์สง่า. (2550). การศึกษาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในกระบวนการวางแผนพัฒนาการศึกษาจองโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
องค์การบริหารส่วนตำบลขามป้อม. (2564). รายงานการประชุมสภาสมัยสามัญ สมัยที่ 1 ครั้งที่ 1 วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564. องค์การบริหารส่วนตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.