การมีส่วนร่วมแบบบวรของประชาชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
The Public Participation in Development of Sufficiency-Economy Villages in Selaphum District, Roi Et Province
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมแบบบวรของประชาชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2)เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมแบบบวรของประชาชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 3)เพื่อเสนอแนะการมีส่วนร่วมแบบบวรของประชาชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือน/ตัวแทนครัวเรือน หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 375 ครัวเรือน/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.80-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t–test (Independent Samples)และ F-test (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมแบบบวรของประชาชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่รองลงมา ด้านการเพิ่มรายได้และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการออม 2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมแบบบวรของประชาชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษาโดยรวมและด้านการลดรายจ่ายแตกต่างกันนอกนั้นไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามอายุและอาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การมีส่วนร่วมแบบบวรของประชาชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดที่สำคัญ คือ สมาชิกในครัวเรือนควรลดรายจ่ายและเพิ่มสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต วางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างสม่ำเสมอ ตระหนักเสมอว่าการใช้ทรัพยากรมากเกินไปจะเป็นการไม่ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม ปฏิบัติตนเป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น
References
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). เรียนรู้จากกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2546 ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
กีรติวรรณ กัลยาณมิตร, สัณหณัฐ จักรภัทรวงศ์, วิจิตรา ศรีสอน. (2563). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง:กรณีศึกษาชุมชนตำบลหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. วารสารรัชต์ภาคย์. 14(34). 69-85.
คลังปัญญาไทย.(2553). วัด. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2564. จาก http://www.panyathai.or.th/ wiki/index.php/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94
ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ. (2540). หลักการพัฒนาชุมชน. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บวร เทศารินทร์. (2560). ประเทศไทย 4.0 โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจใหม่. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2564. จาก http://www.mahasarakham.go.th/mkweb/images/8
ภูวณัฐสร์ หนูมาก. (2549). กระบวนการการมีส่วนร่วมของบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) ต่อการพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิซุตตา ชูศรีวาส. (2561). การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวอ่าว ตำบลบางช้างอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
วิษณุหยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้าร้อน จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศุภลักษณ์ เก่งบัญชา. (2548). เส้นทางครอบครัวไทยในยุคโลกาภิวัฒน์บ้านแห่งรัก. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564. จาก http ://www.love 4home.com
สายฤดี วรกิจโภคาทร. (2553). สรุปเวทีเสวนาเชิงวิชาการ “สถานการณ์ครอบครัวไทย”. การประชุมวิชาการครอบครัวศึกษา 2553. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564. จาก http://www.family network.or.th
สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2553). มาตรฐานครอบครัวเข้มแข็งองค์ความรู้ด้านครอบครัว. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2564. จาก http://www.women-family.go.th
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). รายงานการเสวนาทางวิชาการเรื่องกระบวนการเสริมสร้างจริยธรรม : บูรณาการระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนและชุมชน. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด. (2563). พัฒนาชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด จัดประกวดศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสมบูรณ์แบบสัมมาชีพ ต้นแบบ จังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2562 ระดับจังหวัด ส่งเสริมการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต.ร้อยเอ็ด : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด.
อมรวิชช์ นาครทรรพ และคณะ. (2549). เสริมพลังครอบครัวสร้างรั้วให้หัวใจเด็ก : แนวคิดและแนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ เรื่องการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้มแข็งในครอบครัว. กรุงเทพฯ : สถาบันรามจิตติ.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.