การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชน ของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
The Application of the Four Sublime States of Mind in Development of a Quality of Life in Community of Women Empowerment Funds Members at Selaphum District, Roi Et Province
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2)เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ 3)เพื่อเสนอแนะการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างได้แก่สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด หมู่บ้านละ 1 คน จำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.80-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t–test(Independent Samples)และ F-test (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านมุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข รองลงมา ด้านอุเบกขา : ความวางใจเป็นกลาง ด้านเมตตา : ความรักความปรารถนาดี และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านกรุณา : ความสงสารคิดช่วยให้เขาพ้นทุกข์ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อระดับการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดที่สำคัญ คือควรมีสติในการรับรู้ความคิดความรู้สึกอย่างเป็นปัจจุบัน ควบคุมอารมณ์และการแสดงออกให้เป็นปกติ ให้ความช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอและด้อยโอกาสเมื่อมีโอกาส แสดงความดีใจกับคนที่ได้ดีให้อภัยกับคนที่ทำผิดและชื่นชมผู้ทำความดีเพื่อเป็นแรงผลักดันให้ทำดีต่อไป ไม่นำเรื่องของผู้อื่นมาคิดมานินทา