บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลตามหลักอิทธิบาท 4 ในเขตอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

The Role of the Local Administration Organization in Promotion and Support of the Subdistrict Health-Care Fund base on Four Principles of IDDHIPADA in Si Somdet District, Roi Et Province

  • เอนก นาโพนงาม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูกิตติวราทร . มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลตามหลักอิทธิบาท 4  ในเขตอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด 2)เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลตามหลักอิทธิบาท 4 ในเขตอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลตามหลักอิทธิบาท 4 ในเขตอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กำนันผู้ใหญ่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านสารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล และบุคลากรส่วนท้องถิ่นในตำบลศรีสมเด็จ ตำบลเมืองเปลือย และตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 773 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.60 - 1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t–test (Independent Samples) และ F-test (One-way ANOVA)


           ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลตามหลักอิทธิบาท 4 ในเขตอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลตามหลักอิทธิบาท 4 ในเขตอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพหรือตำแหน่งทางสังคมพบว่าโดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลตามหลักอิทธิบาท 4 ในเขตอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่สำคัญได้แก่ควรกำหนดวิสัยทัศน์ภารกิจเป้าหมายในการพัฒนาการสาธารณสุขที่สอดคล้องกับปัญหาของท้องถิ่นและควรกำหนดรูปแบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมควรส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลด้วยการเชิญชวนประชาชนบริจาคสมทบกองทุนฯ และควรเพียรพยายาม(วิริยะ) ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ควรแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลโครงการร่วมกับคณะกรรมการบริหารกองทุนสุขภาพตำบลควรประเมินผลการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนสุขภาพตำบลควรส่งเสริมให้กองทุนสุขภาพตำบลและประชาชนมีส่วนสร้างนวัตกรรมการแก้ไขปัญหาสุขภาพด้วยตนเองชุมชนเองและควรมีแผนงาน มีระบบการเตรียมพร้อมรับปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นใหม่และส่งผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชน

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2548). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสามปีและแผนดำเนินงาน. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.

กวี วงศ์พุฒ. (2550). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ : บีเคอินเตอร์พริ้นท์.

งามพิศ สัตย์สงวน. (2537). สังคมและวัฒนธรรมทางการเมือง. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดิษณ์กร สิงห์ยะเมือง. (2554). โครงการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด : ทันใจการพิมพ์.

ดุสิต ศรีโคตร. (2561). แนวทางการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 7. ขอนแก่น : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.).

นัยนา พรมสวย. (2560). การใช้อิทธิบาท 4 ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ผดุง วรรณทอง อนันต์ ธรรมชาลัย และสานิต ศิริวิศิษฐ์กุล. (2561). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารองค์กรเอกชนในจังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2541). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.

พุทธทาสภิกขุ. (2551). ธรรมะน้ำธรรมะโคลน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

สมพร จั่นจำรัส. (2556). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรศักดิ์ อุดเมืองเพีย และจักรี ศรีจารุเมธีญาณ. (2563). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของประชาชนบ้านสะอาด ตำบลกุดธาตุ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุถฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น. 1(1). 41-49.

อุทิศ วันเต. (2559). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในเขตอำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร.สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร.
Published
2022-02-07
How to Cite
นาโพนงาม, เอนก; ., พระครูกิตติวราทร. บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลตามหลักอิทธิบาท 4 ในเขตอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารรัฐศาสตร์สาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(Online), [S.l.], v. 1, n. 1, p. 45-58, feb. 2022. ISSN 2774-1001. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/MBUPJ/article/view/1844>. Date accessed: 15 nov. 2024.
Section
Research Article