รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยการระเบิดจากภายในท้องถิ่น สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
Communities Strengthening Promoting by an Explosion Localism to Sustainable Development
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาวิเคราะห์ตัวแปรองค์ประกอบต่างๆ ว่ามีผลต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยการระเบิดจากภายในท้องถิ่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 2)เพื่อวิเคราะห์สัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวแปรองค์ประกอบต่างๆ ว่ามีความสัมพันธ์หรือิทธิพลต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยการระเบิดจากภายในท้องถิ่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และ 3)เพื่อพัฒนารูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของชุมชนด้วยการระเบิดจากภายในท้องถิ่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลตำบล สมาชิกสภาเทศบาลตำบล และประชาชนโดยทั่วไป จำนวน 368 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม วิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทางสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ตัวแปรการนำนโยบายไปปฏิบัติของเทศบาลตำบล สามารถพยากรณ์ความเข้มแข็งของชุมชนด้วยการระเบิดจากภายในท้องถิ่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) = .899, ตัวแปรเงื่อนไขและปัจจัยที่ส่งผลให้ชุมชนเข็มแข้งที่สามารถพยากรณ์ความเข้มแข็งของชุมชนด้วยการระเบิดจากภายในท้องถิ่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) = .878, ตัวแปรการบริหารการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลสามารถพยากรณ์ความเข้มแข็งของชุมชนด้วยการระเบิดจากภายในท้องถิ่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) = .853 และตัวแปรเงื่อนไขและปัจจัยที่ส่งผลให้ชุมชนเข็มแข้ง ตัวแปรการนำนโยบายไปปฏิบัติของเทศบาลตำบล และตัวแปรการบริหารการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล ทุกตัวแปรสามารถพยากรณ์และอธิบายถึงความเข้มแข็งของชุมชนด้วยการระเบิดจากภายในท้องถิ่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการตรวจสอบเพื่อยืนยันรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL) เพื่อตรวจสอบเชิงยืนยันรูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของชุมชนด้วยการระเบิดจากภายในท้องถิ่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิเคราะห์ พบว่า ค่าไค-สแควร์ (χ2) เท่ากับ 123/72.03=1.70 องศาความอิสระ (df) มีค่าเท่ากับ 54 ค่าความมีนัยสำคัญ (p-value) มีค่าเท่ากับ 0.05105 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.030 ซึ่งแสดงว่ารูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของชุมชนด้วยการระเบิดจากภายในท้องถิ่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ตามเกณฑ์ที่เหมาะสม(Fit) ตามเกณฑ์ค่าดัชนีตรวจสอบที่กำหนด
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
โกวิทย์ พวงงาม. (2550). ธรรมาภิบาลท้องถิ่น: ว่าด้วยการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส. กรุงเทพฯ : เอ็กซ์ เปอร์เน็ท.
ขวัญชัย สัจสันตินุกุล (2553). แนวคิด ทฤษฎี การนำนโยบายไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และคณะ. (2541). ทฤษฎีและแนวคิดเศรษฐกิจชุมชนชาวนา. กรุงเทพฯ : บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
ดารณี จามจุรี และจินตนา ยูนิพันธุ์. (2545). การจัดการภาครัฐกับการเสริมพลังประชาชน. กรุงเทพฯ : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2551). การบริหารการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ และคณะ. (2554). เศรษฐศาสตร์มหภาค : ทฤษฎี นโยบาย และการวิเคราะห์สมัย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2550). การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่นอีกมิติหนึ่งของอารยธรรมโลก: จากยุคกรีกถึงยุคทุนนิยมตะวันตก. กรุงเทพฯ : คบไฟ.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMO. กรุงเทพฯ : พิมพ์ที่ บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2549). กระบวนการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ของชุมชน. กรุงเทพฯ : โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).
รัฐกิจ หิมะคุณ. (2552). รูปแบบการจัดการปัญหาสาธารณะของหน่วยงานท้องถิ่น : กรณีศึกษาชุมชนแออัดแห่งหนึ่ง ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
วณี ปิ่นประทีป. (2548). ประมวลข้อมูลเบื้องต้นพื้นที่ชุมชนเข้มแข็ง เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง นโยบายเพื่อสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.
วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ. (2553). กระบวนการ การจัดการชุมชนเข้มแข็ง : รูปแบบ ปัจจัยและตัวชี้วัด. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สุภมาศ อังศุโชติ และคณะ. (2552). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ : เจริญมั่นคงการพิมพ์.
เอนก นาคะบุตร. (2542). ชุมชนเข้มแข็ง ทุนทางสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม.
Cohen, J. and N.T. Uphoff. (1977). Rural Development Partipation. Ithaca : Cornell University.
Cohen, J. and N.T. Uphoff. (1980). Participation’ s Place in Rural Development: Seeking Clarify Through pecificity. Wolrd Development. 8(March 1980). 213-218.
Department of International Economic and Social Affairs, United Nations. (1981). Popular Participation as a Strategy for Promoting community–level Action and National Development. New York : United Nations.
Lee J.Cary, Editor. (1970). Community Development As A Process. Columbia : University of Missouri Press.
Patricia Lundy. (1999). Community participation in Jamaican Conservation Projects. Community Development Journal. 34(2). 122-132.