แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของทนายความอาสาโดยใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์
GUIDELINES FOR IMPROVING THE PERFORMANCE OF VOLUNTEER LAWYERS USING THE DHARMA BRAHMAWIHAN 4 PRINCIPLES IN THE AREA OF ROI KAEN SARASIN PROVINCE
Abstract
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานของทนายความอาสาในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของทนายความอาสาโดยใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทนายความอาสาโดยใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้บริหารทนายความอาสา กลุ่มทนายความอาสา กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนา และกลุ่มประชาชนที่เข้าเคยใช้บริการทนายความอาสา ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการปฏิบัติงานของทนายความอาสาในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ สภาพการทำงานของทนายความอาสาจะให้เฉพาะคำแนะนำเกี่ยวกับคดี ข้อกฎหมาย จะไม่เกี่ยวกับการทำคดี ส่วนปัญหาในการทำงานที่พบส่วนใหญ่ประชาชนเข้ามาปรึกษาทนายความอาสายังมีจำนวนน้อย เพราะขาดการประชาสัมพันธ์ทนายความอาสาบางคนยังขาดความรู้ความเข้าใจในข้อกฎหมายบางเรื่อง โดยเฉพาะกฎหมายที่ออกมาใหม่ นอกจากนี้ทนายความอาสามีการนำหลักธรรมมาใช้ในการปฏิบัติงานทั้งในด้านการวางแผน การลงมือปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไข 2. แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของทนายความอาสาโดยใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ทนายความอาสาต้องมีเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม และเมตตามโนกรรม มีจิตใจเป็นทนายความอาสา พร้อมช่วยเหลือคนอื่น มีสติในการทำงานยึดความถูกต้องเที่ยงธรรมโดยไม่มีอคติปฏิบัติต่อผู้มาขอรับคำปรึกษาอย่างเท่าเทียมกัน 3. ผลการศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานทนายความอาสาโดยใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ทนายความอาสาและทนายความทุกคนต้องยึดหลักพรหมวิหาร 4 เพื่อความเจริญในหน้าที่การงานและชีวิต เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีสติในการทำงาน การทำงานย่อมมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุด
References
ชัญญาดา โพนสิงห์. (2560). การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู โรงเรียนเทศบาล 4 (ฉลองรัตน์) อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณัฐนันท์ ทาคำ. (2562). ความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในเครือไทยรัฐ กรุ๊ป. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 6(1). 76-88.
ไทยโพสต์. (2563). คุกมีไว้ขังคนจนในทัศนะประธานศาลฎีกา. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565. จาก http://www.thaipost.net/main/detail/78728
ธีระพงษ์ ลือนาม. (2563). การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานธนารักษ์เขตพื้นที่ภาคกลาง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ปัทมกร ปุริโส. (2561). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 สำหรับวิชีพพยาบาล. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). จากสุขในบ้านสู่ความเกษมศานติ์ทั่วสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ : บริษัท สหธรรมิก จํากัด.
พระสมุห์สมนึก สมณธมโม (อุทัย แสงไพศาล). (2561). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของครูตามหลักพรหมวิหาร 4 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุฒิพงศ์ วิรยศิริ. (2549). บทบาทที่พึงประสงค์และมีประสิทธิภาพของทนายความขอแรง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์. รายงานประจำปี 2562. ร้อยเอ็ด : สภาทนายความ.