แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำท้องถิ่นโดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 เทศบาลตำบลพรสวรรค์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

GUIDELINES FOR LOCAL LEADERSHIP DEVELOPMENT USING PRINCIPLE OF DHARMA ITTHIBATH 4 PORNSAWAN SUBDISTRICT MUNICIPALITY SELAPHUM DISTRICT ROI ET PROVINCE

  • สุวัฒน์ สิริรัตนะเศวตกุล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูกิตติวราทร ผศ.ดร. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำท้องถิ่นโดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 เทศบาลตำบลพรสวรรค์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาภาวะผู้นำท้องถิ่นโดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 เทศบาลตำบลพรสวรรค์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำท้องถิ่นโดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 เทศบาลตำบลพรสวรรค์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 367 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า F-test (One-way ANOVA)


           ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะแนวทางการพัฒนาผู้นำท้องถิ่นโดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 เทศบาล  ตำบลพรสวรรค์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล(วิมังสา) รองลงมา ด้านการกระตุ้นทางปัญญา (จิตตะ) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ (วิริยะ) 2. ผลการเปรียบเทียบระดับแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำท้องถิ่นโดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 เทศบาลตำบลพรสวรรค์ อำเภอเสลภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำท้องถิ่นโดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 เทศบาลตำบลพรสวรรค์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาภาวะผู้นำท้องถิ่นที่ประกอบด้วย การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล โดยการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เป็นแนวทางการทำงาน ให้ประสบความสำเร็จ

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ปาณิสรา ตรัสศรี. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธ์ุ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พระบุญเพ็ง สิทธิวงษาม, โยษิตา หลวงสุรินทร์, อมรรัตน์ ปฏิญญาวิบูล, กนกอร บุญมี. (2562). การบริหารจัดการท้องถิ่นตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(5). 2459-2479.

ภวานี เผือกบัวขาว. (2561). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำวิสาหกิจชุมชนด้านอาหารในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์บนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 20(2). 223-236.

ยุทธ ไกยวรรณ์ และกุสุมา ผลาพม. (2553). พื้นฐานการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5 ปรับปรุง แก้ไขและเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

สำนักทะเบียนอำเภอเสลภูมิ. (2565). ข้อมูลทะเบียนราษฏร ในเขตเทศบาลตำบลพรสวรรค์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด : สำนักทะเบียนอำเภอเสลภูมิ.
Published
2023-06-10
How to Cite
สิริรัตนะเศวตกุล, สุวัฒน์; ผศ.ดร., พระครูกิตติวราทร. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำท้องถิ่นโดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 เทศบาลตำบลพรสวรรค์ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารรัฐศาสตร์สาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(Online), [S.l.], v. 2, n. 1, p. 12-19, june 2023. ISSN 2774-1001. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/MBUPJ/article/view/2165>. Date accessed: 15 nov. 2024.