การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้หลักธรรม สาราณียธรรม 6 ในเขตเทศบาลตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
PUBLIC PARTICIPATION IN THE PREPARATION OF LOCAL DEVELOPMENT PLANS BY USING THE DHARMA PRINCIPLE "SARANEE DHARMA 6" IN MA-U SUB-DISTRICT MUNICIPALITY THAWAT BURI DISTRICT ROI ET PROVINCE
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้หลักธรรมสาราณียธรรม 6 เทศบาลตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นด้วยหลักธรรมสาราณียธรรม 6 เทศบาลตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นด้วยหลักธรรมสาราณียธรรม 6 เทศบาลตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีทะเบียนบ้าน ในเขตเทศบาลตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ดจำนวน 4,526 คนกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 368 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง 0.67-1.00 มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 จำแนกระหว่าง .449 - .935 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้หลักธรรมสาราณียธรรม 6 ในเขตเทศบาลตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ดโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติโดยยึดหลักธรรม ข้อเมตตากายกรรมรองลงมา ด้านการร่วมในการประเมินผลยึดหลักธรรมข้อทิฏฐิสามัญญตาและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยยึดหลักธรรมข้อ เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม 2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้หลักธรรม สาราณียธรรม 6 ในเขตเทศบาลตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ดจำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามอาชีพ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติโดยยึดหลักธรรมข้อ เมตตากายกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้หลักธรรมสาราณียธรรม 6 พบว่า มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางหรือวิธีในการพัฒนาชุมชนให้มีความเป็นอยู่เหมาะสม มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงาน/โครงการในการพัฒนาชุมชนเพื่อไม่ฟุ่มเฟือยและกำหนดเป้าหมายการพัฒนาตามประเด็นหลักแต่พอดีแก่ฐานะ ร่วมรับผลประโยชน์จากการนำแผนชุมชนไปสู่การปฏิบัติอย่างเต็มกำลังความสามารถหาแนวทางแก้ไขปัญหาจากการจัดทำแผนชุมชนด้วยความเอาใจใส่งานในหน้าที่อย่างประหยัด บุคลากรต้องปฏิบัติต่อหน้าที่ด้วยความมีระเบียบวินัยประพฤติปฏิบัติตามตัวบทกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งตลอดจนจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด
References
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ปวีณา วีรยางกูร. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เมตต์ เมตต์การุณจิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมประชาชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : บุ๊คพอยท์.
Ministry of Housing, Communities & Local Government. (2006). Annual Report 2006. Norwich : Department for Communities and Local Government.