ปัจจัยที่มีผลต่อการลาออกของพนักงาน บริษัท LLL จำกัด
FACTOR AFFECTING EMPLOYEE RESIGNATION OF LLL COMPANY
Abstract
การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการลาออกของพนักงาน : ศึกษาพนักงานกลุ่มบริษัทลานนาไม้อัดไทยจำกัด ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการทำงานปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ลานนาไม้อัดไทย จำกัด และแนวทางในการป้องกันและวิธีการในการรักษาหรือจูงใจพนักงานที่มีคุณภาพให้ทำงานกับองค์กรต่อไป กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือพนักงานกลุ่ม บริษัท ลานนาไม้อัดไทย จำกัด จำนวน 150 คน การศึกษาครั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การค่าร้อยละ และการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่มีผลต่อการลาออกของพนักงานกลุ่มบริษัทลานนาไม้อัดไทยจำกัดพบว่าพนักงานไม่พึงพอใจในผู้บังคับบัญชา ไม่พึงพอใจในโอกาสความก้าวหน้า ไม่พึงพอใจในสภาพการทำงาน ไม่พึงพอใจในเพื่อน ร่วมงาน ไม่พึงพอใจในรายได้หรือค่าตอบแทน ไม่พึงพอใจในลักษณะงาน 2. ปัจจัยด้านเพื่อนร่วมงานในการไม่สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานในหน่วยงานได้ สถานที่ทำงานไม่มีอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม สถานที่ทำงานไม่มีห้องน้ำที่ เพียงพอ ส่วนข้อที่มีระดับความคิดเห็นปานกลาง คือ สถานที่ทำงานอาจก่อให้เกิดอันตราย สถานที่ทำงานไม่ มีห้องอาหารที่เพียงพอ สถานที่ทำงานไม่มีความสะดวกสบาย ตามลำดับ
References
ครีเดน เอเชีย จำกัด. (2554). แนวโน้มการเติบโตของรายได้รวม กำไร (ขาดทุน) และสินทรัพย์รวม บริษัท ลานนา ไม้อัดไทย จำกัด. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2565. จาก https://data. creden.co/company/general/0505553001868
ชญาดา ธนาบุญยรัตน์, กัญณภัทร วรรณพุฒ, กฤตผล จิตมั่น, วิภารัตน์ จันท้าว. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานบริษัทรักษาความปลอดภัยยู.พี.พี.อินเตอร์กรุ๊ปจำกัด. วารสารวิจัยและนวัตกรรมสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. 1(2). 39-46.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). การบริหารจัดการขยะภายในแผนกห้องปฏิบัติการพิเศษทางโลหิตวิทยาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 5(2). 98-112.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). คุณภาพการให้บริการของธุรกิจรับผลิตอาหารเสริมครบวงจรในอำเภอเมือง สมุทรสาคร. วารสารรัฐศาสตร์สาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 1(2). 41-51.
ณปภัช นาคเจือทอง. (2552). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการลาออกของพนักงานในสวนอุตสาหกรรมโรจนะจังหวดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณัฐธยาน์ อำไพวงษ์. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจลาออกของพนกังานขับรถขนส่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ดและนิคมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิกร ช่วยศรี. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานของพนักงานฝ่ายผลิต กรณีศึกษา : บริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วรกิจ สารสนิท. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการลาออกจากงานของพนักงานกลุ่มบริษัท ประชากิจ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ศศิ อ่วมเพ็ง. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานระดับบังคับบัญชา สำนักงานบัญชีกลาง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทยจำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศศิมาภรณ์ บุญช่วย,ภูษิตวงศ์ หล่อสายชล. (2563). แนวทางแก้ ปัญหาการลาออกของพนักงานร้านไทยเจริญค้าส่ง. Proceeding National & International Conference. 1(11). 612-622.