การมีส่วนร่วมในการบริหารงานโดยใช้หลักพรหมวิหาร 4 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
PARTICIPATION IN ADMINISTRATION USING FOUR SUBLIME STATES OF MIND OF MUEANG ROI ET LOCAL GOVERNMENT ORGANIZATIONS, ROI ET PROVINCE
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโดยใช้หลักพรหมวิหาร 4 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโดยใช้หลักพรหมวิหาร 4 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโดยใช้หลักพรหมวิหาร 4 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ประชากร ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 876 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 269 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานได้แก่ ค่า t-test และ F-test (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโดยใช้หลักพรหมวิหาร 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านการบริหารงานบุคลากร (เมตตา) ด้านการบริหารงานบริการสาธารณะ (อุเบกขา) ด้านการบริหารงบประมาณ (กรุณา) และ ด้านการบริหารงานองค์กร (มุทิตา) ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโดยใช้หลักพรหมวิหาร 4 จำแนกเพศ อายุ และระดับการศึกษา ไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโดยใช้หลักพรหมวิหาร 4 ที่สำคัญควรจูงใจให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานหรือบุคคลผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติงาน ร่วมรับผิดชอบ ให้ความเป็นธรรมกับบุคลากร ควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ให้เป็นไปตามระเบียบ/ข้อบังคับของทางราชการ
The objectives of this thesis were 1) to study the level of Participation in administration using the Four Sublime States of Mind of Local Government Organization at Mueang Roi Et District, Roi Et Province 2) to compare the level of Participation in administration using the Four Sublime States of Mind of Local Government Organization at Mueang Roi Et District, Roi Et Province, classified by gender, age, and education level 3) to study suggestions for participation in administration using the Four Sublime States of Mind of Local Government Organization at Mueang Roi Et District, Roi Et Province. The population included of 876 personnel working in Local Government Organization at Mueang Roi Et District, Roi Et Province. The sample group was 269 personnel working in Local Government Organization at Mueang Roi Et District, Roi Et Province. It was quantitative research. The instrument used for data collection was a 5-point estimation scale questionnaire with a contain validity of 0.67 – 1.00, and a confidence level of 0.94. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean and standard deviation, and the statistics used to test the Hypothesis were t-test and F-test (One-Way ANOVA).
The results found that: 1) The overall level of Participation in administration using the Four Sublime States of Mind of Local Government Organization at Mueang Roi Et District, Roi Et Province was at a high level. Ranking from the highest to the lowest averages were personnel management (Metta), public service administration (Upekkha), budget management (Karuna), and organizational management (Mudita). 2) There was no difference in the results of the comparison of opinions towards the participation in administration using the Four Sublime States of Mind, classified by sex, age, and education level, there was no difference. Division by occupation Overall .05 level. 3) Suggestions for participation in administration by using the Four Sublime States of Mind should motivate personnel or related persons to have the opportunity to collaborate in participation-decision-making co-responsible, be fair to personnel, controlling budget spending to comply with government regulations.
References
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2543). รวมธรรมะ. พิมพ์ครั้งที่ 121. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธรรม.
สัญญา เคณาภูมิ. (2551). ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนใน 4 จังหวัดชายแดนลุ่มน้ำโขง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด. (2565). คู่มือการปฏิบัติงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สำนักปลัดองค์กรปกครองท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด.
โสมจิราวดี จำปาสิทธิ์. (2563). การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลเสาธง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology. 5(1). 85-101.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.