การบูรณาการหลักธรรมาภิบาลด้วยอิทธิบาท 4 ในการดำเนินงาน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
THE INTERGRATION OF GOOD GOVENANCE BASED ON THE FOUR PAHTS TO ACCOMPLISHMENT IN THE OPERATION OF THE ROI-ET PROVINCIAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบูรณาการหลักธรรมาภิบาลด้วยอิทธิบาท 4 ในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นการบูรณาการหลักธรรมาภิบาลด้วยอิทธิบาท 4 ในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด โดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่ง 3) เพื่อเสนอแนะการบูรณาการหลักธรรมาภิบาลด้วยอิทธิบาท 4 ในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .950 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานได้แก่ ค่า t-test และ F-test (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบูรณาการหลักธรรมาภิบาลด้วยอิทธิบาท 4 ในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านคุณธรรม/จริยธรรม รองลงมา คือ หลักการตรวจสอบได้มีภาระรับผิดชอบ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ หลักประสิทธิผล 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการบูรณาการหลักธรรมาภิบาลด้วยอิทธิบาท 4 ในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกเพศ ระดับการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามอายุ และตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะการบูรณาการหลักธรรมาภิบาลด้วยอิทธิบาท 4 ในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ควรปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ควรสร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจรวมถึงตอบสนองตามความคาดหวังของ ประชาชนผู้รับบริการ พิจารณาการใช้อำนาจตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงาน รับฟังความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้บุคลากรในหน่วยงานมีส่วนในการตัดสินใจ
The objectives of research article were 1) to study the level Integration of Good Governance with the four Paths to Accomplishment in the Operation of the Roi- Et Provincial Administrative Organization; 2) to compare the opinions on the Integration of Good Governance with the four Paths to Accomplishment in the Operation of the Roi- Et Provincial Administrative Organization, classified by gender, age, education level, and position; and 3) to study suggestions for the Integration of Good Governance with the four Paths to Accomplishment in the Operation of the Roi- Et Provincial Administrative Organization, a sample group of 210 personnel. The data collection tool used in this study was a questionnaire with 5-level Likert scale items, with content validity ranging from 0.67 to 1.00 and a reliability coefficient of .950. The statistical analysis used in this study included frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test (One-Way ANOVA).
The results show that: 1) The Integration of Good Governance with the four Paths to Accomplishment in the Operation of the Roi- Et Provincial Administrative Organization is generally at a high level. The aspect with the highest average score is ethics/morality, followed by accountability/check and balance. The aspect with the lowest average score is effectiveness. 2) The result of comparing the levels of Integration of Good Governance with the four Paths to Accomplishment in the Operation of the Roi- Et Provincial Administrative Organization, it did not differ overall when categorized by gender and educational level. However, once categorized by age and position, there was a statistically significant difference at the .05 level. 3) Integration of Good Governance with the four Paths to Accomplishment in the Operation of the Roi- Et Provincial Administrative Organization, the results suggested that officials should perform their duties in accordance with the organization's objectives. They should build confidence and trust, as well as respond to the expectations of the service users. They should also consider using power in accordance with the rules and regulations of the agency, listen to the feedback, and provide opportunities for personnel within the agency to participate in decision-making.
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมี ลี้. (2546). รายงานการวิจัยเรื่องตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
ผอบทอง สุจินพรหม. (2559). การนำหลักธรรมอิทธิบาท 4 มาใช้ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทรรศนะของบุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 5(2). 102-111.
พระทนงศักดิ์ ฐานรโต (มุ่งแก้วกลาง). (2558). การบริหารงานตามหลักอิทธิบาทธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาประภาส โชติเมธี (รักไร่). (2558). การบูรณาการหลักทศพิธราชธรรมเพื่อการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโบสถ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด. (2540). พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2540,” (2552, 3 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 120 ตอนที่ 109 ก.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วรลักษณ์ วรรณกูล. (2559). การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอบางปะหันจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2542). การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.