ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลัก สัปปุริสธรรม 7 ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงครั่งน้อย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
PEOPLE'S ATTITUDES TOWARDS THE ROLES OF TRANSFORMATIVE LEADERSHIP BASED ON THE SEVEN PRINCIPLES OF SAPPURISADHAMMA IN DONG KHRANG NOI SUB-DISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATION AREA, KASET WISAI DISTRICT, ROI ET PROVINCE
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติของประชาชนที่มีต่อบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงครั่งน้อย 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อทัศนคติของประชาชนที่มีต่อบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงครั่งน้อย จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะทัศนคติของประชาชนที่มีต่อบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงครั่งน้อย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .268 - .833 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงครั่งน้อย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีทัศนคติของประชาชนที่มีต่อบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงครั่งน้อย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) ประชาชนได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ได้แก่ (1) ผู้นำกล้าตัดสินใจทำในสิ่งใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ (2) ผู้นำสามารถจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาและประชาชนในพื้นที่มีเจตคติที่ดีในการทำงาน (3) ผู้นำสนับสนุนวิธีการทำงานหรือวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการใหม่ๆ และ (4) ผู้นำสามารถทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาและประชาชนนั้นที่มีความรักใคร่สามัคคีกัน เพื่อให้บริการกับทุกคนอย่างเท่าเทียมอยู่เสมอมากยิ่งขึ้น
The objectives of this thesis were: 1) to study the level of people's attitudes towards the transformational leadership roles based on the seven principles of Suppurisadhamma in Dong Khrang Noi Subdistrict Administrative Organization, Kaset Wisai District, Roi-Et Province 2) to compare the opinions on people's attitudes towards the roles of transformational leadership based on the seven principles of Suppurisadhamma in Dong Khrang Noi Sub-district Administrative Organization, Kaset Wisai District, Roi - Et Province, classified by gender, age, education level, and occupation 3) to study on the recommendations and people’s attitudes towards the roles of transformative leadership based on the seven principles of Suppurisadhamma in Dong Khrang Noi Sub-district Administrative Organization Kaset Wisai District, Roi Et Province. The sample group consisted of 361 people aged 18 years and over. The research instruments were questionnaires with content validity between 0.67-1.00 The discrimination was .268 - .833 and the reliability was 0.90. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation. Statistics used to test the hypothesis using t-test and F-test.
The objectives of research article were: 1) People's attitude towards the transformational leadership roles based on the seven principles of Suppurisadhamma in Dong Khrang Noi Sub-district Administrative Organization, Kaset Wisai District, Roi Et Province overall, it was at the highest level. 2) The results of the hypothesis testing found that people with different genders, ages, education level, and occupations had attitudes toward the transformational leadership roles based on the seven principles of Suppurisadhamma in Dong Khrang Noi Subdistrict Administrative Organization, Kaset Wisai District, Roi-Et Province, overall and each aspect no difference. 3) Recommendations given by people about the role of transformational leadership based on the seven principles of Suppurisadhamma, namely: (1) leaders dare to decide to do new things (2) leaders can motivate their subordinates and people in the area to have good working attitudes (3) leaders encourage new ways of working or solving emerging problems, and (4) leaders can bring their subordinates and people harmonious, and providing services to everyone more equally and consistently.
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัญญา คล้ายเดช. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น : หจก.ขอนแก่นการพิมพ์.
พระมหาสมควร ศรีสงคราม. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัปปุริสธรรมและพละธรรมกับการปฏิบัติงานของผู้นำสถานศึกษากลุ่มเขตกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พระยุทธศิลป์ ยุทฺธฺสิปฺโป (อุปศรี). (2555). การบริหารงานโดยการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภิรมย์ ถิ่นถาวร. (2550). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของข้าราชการครูโรงเรียนอำเภอบ้านโพธิ์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2550). ผลการฝึกอบรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565. จาก https://dep.go.th/images/uploads/Downloads/pdf/256004 16.PDF
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2565. จาก http://www.laembua.go.th/images/column_1355312035/พ_ร_บ_สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล%20(ฉบับที่%207)%20พ_ศ_2562.pdf
ศตพล พนิชศักดิ์พัฒนา. (2559). ทัศนคติของประชาชนชาวจังหวัดสกลนครที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร: ศึกษาในห้วงเวลา ปี พ.ศ. 2559. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกริก.
องค์การบริหารส่วนตำบลดงครั่งน้อย. (2565). รายงานผลการดำเนินงานองค์การบริหารส่วนตำบลดงครั่งน้อย ปีงบประมาณ 2565. ร้อยเอ็ด: องค์การบริหารส่วนตำบลดงครั่งน้อย.
อาเขตต์ ขันธชัย. (2557). ทัศนคติของประชาชนชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีต่อการบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา: ศึกษาในห้วงเวลาปี 2556. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง : มหาวิทยาลัยเกริก.