วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์

ORGANIZATIONAL CULTURE AFFECTING TEACHER EFFECTIVENESS OF EDUCATIONAL INSTITUTIONS UNDER PRACHUAP KHIRI KHAN THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE

  • วิชิต ลือยศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • มณฑา จำปาเหลือง มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์กรและประสิทธิผลการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับประสิทธิผลการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ และ 3) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 275 คน แบ่งเป็น ผู้บริหาร จำนวน 18 คน และครู จำนวน 257 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ     


ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับวัฒนธรรมองค์กรของสถานศึกษาและประสิทธิผลการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน แต่ละด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ วัฒนธรรมแบบราชการ วัฒนธรรมที่เน้นความสำเร็จ วัฒนธรรมแบบญาติมิตรและวัฒนธรรมแบบปรับตัว ตามลำดับ  ต่อมา ประสิทธิผลการทำงานของครูในสถานศึกษามีผลการวิเคราะห์โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน แต่ละด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก ด้านความสามารถการแก้ปัญหาในโรงเรียน ด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และด้านความสามารถในการพัฒนาปรับเปลี่ยนโรงเรียนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ 2. ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับประสิทธิผลการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.901 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3. วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.913 ประสิทธิภาพในการทํานาย ร้อยละ 83.40 มีประสิทธิภาพในการทำนายที่ปรับแล้ว ร้อยละ 83.10 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01


The purposes of this research were: 1) The level of organizational culture and the efficacy of teachers' work in educational institutions. 2) The relationship between organizational culture and teacher effectiveness in educational institutions. under Prachuap Khiri Khan the Secondary Educational Service Area Office, and 3) The how organizational culture affecting teacher effectiveness of educational institutions under Prachuap Khiri Khan the Secondary Educational Service Area Office. With 275 participants. comprising 18 school administrators, and 257 teachers. Statistics used in data analysis include mean, standard deviation. Correlation coefficient and multiple regression analysis.


The results showed that; 1. Organizational culture level of educational and Effectiveness level of teachers in educational institutions under the jurisdiction of the Prachuap Khiri Khan Secondary Educational Service Area Office Overall, it is at the highest level. When considering each aspect Each side is at a high level. Arranged from highest to lowest average is bureaucratic culture. A culture that emphasizes success kinship culture and adaptive culture, respectively. And Effectiveness level of teachers in educational institutions, Overall, it is at a high level. When considering each aspect Each side is at a high level. Arranged from highest to lowest average is Ability to develop students to have positive attitudes Ability to solve problems in school In terms of being able to produce students with high academic achievements and the ability to develop and adapt the school to the environment, respectively. 2. The relationship between organizational culture and teacher effectiveness under Prachuap Khiri Khan the Secondary Educational Service Area Office. Overall, there is a positive relationship. is at a high level The correlation coefficient is 0.901 with statistical significance at the .01 level. 3. Organizational culture effecting teacher effectiveness of educational institutions under Prachuap Khiri Khan the Secondary Educational Service Area Office. with a multiple correlation coefficient of 0.913, a prediction efficiency of 83.40 percent, an adjusted efficiency of prediction of 83.10 percent, with statistical significance at the .01 level.

References

กมลพรรณ พึ่งด้วง. (2560). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จตุรภัทร ประทุม และคณะ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารวิทยบริการ. 27(2). 119 – 130.

ชนิดา จิตตรุทธะ. (2556). วัฒนธรรมปิระมิดกับการทำให้เป็นประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัราชภัฎราชนครินทร์.

ธนภรณ์ รุ่งวิไลเจริญ. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บม ธนาคารกรุงไทยรุ่นเจนเนอเรชั่นวายในเขตกาญจนบุรีและเขตราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธัณฐภรณ์ สิมมา. (2561). การบริหารเวลากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิชานาถ ยะรินทร์. (2560). วัฒนธรรมในองค์กรที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

นิติพล ภูตะโชติ. (2559). พฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิรันดร์ สูโดด. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน (ประเภทสามัญศึกษา) สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ปิยนันท์ ศิริโสภณ. (2565). วัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

พัชระ ภูติวณิชย์ และคณะ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วารสารบริหารการศึกษา. 10(1). 107 – 119.

เพ็ญศรี กัลยาณกิตติ์ และคณะ. (2558). วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา เทศบาลจังหวัดหนองคาย. วารสารศึกษาศาสตร์. 9(3). 133 – 141.

ภัคพร เจริญลักษณ์. (2561). วัฒนธรรมองค์การกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภารดี อนันต์นาวี. (2553). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. ชลบุรี : มนตรี จำกัด.

มณฑา จำปาเหลือง. (2564). นวัตกรรมการบริหารการศึกษาบนพื้นฐานการวิจัย. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ยุทธนา วาโยหะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1. สารนิพนธ์ปริญญาหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วิลาสิณี ถีถาวร. (2564). การรับรู้วัฒนธรรมองค์กรญี่ปุ่นกับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานบริษัท โตโยต้าทูโช เอ็มแอนด์อี(ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหาร ธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศุภาพิชญ์ อินแตง. (2565). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2564 – 2565). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิด และทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์. (2550). เทคนิคทางสถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวชิาการ.

เสรี ชัดแช้ม. (2548). เอกสารการสอนโมเดลสมการโครงสร้าง ภาควิชาวิจัยและวัดผลการศึกษา. ชลบุรี : ภาควิชาวิจัยและวัดผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรรถวิท ชื่นจิตต์. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ พนักงานบริษัทเอกชนรุ่นเจนเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Cameron Kim S. (2008). “A Process for Changing Organizational Culture”, Handbook of Organizational Development. Michigan : Michael Driver.

Hinkle, D.E. (1998). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. Boston : Houghton Mifflin.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607 – 610.

Mott, P.E. (1972). The Characteristic of Effective Organization. New York : Harper and Row.

Richard L. Daft. (2001). Organization Theory and Design. 7th ed. United State of America : South-Western College Publishing.
Published
2024-10-29
How to Cite
ลือยศ, วิชิต; จำปาเหลือง, มณฑา. วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, [S.l.], v. 4, n. 3, p. 129-143, oct. 2024. ISSN 2730-4132. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/RJGE/article/view/2589>. Date accessed: 03 apr. 2025.
Section
บทความวิจัย