การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์ร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการวัดละเอียดของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
DEVELOPING LEARNING MANAGEMENT INNOVATIONS BASED ON EXPERIENTIAL LEARNING AND SELF-DIRECTED LEARNING TO ENHANCE STUDENTS' SKILLS IN PRECISION MEASUREMENT JOB FOR VOCATIONAL CERTIFICATE PROGRAMS
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์ร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการวัดละเอียดของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพและศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์ร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองพัฒนาทักษะการวัดละเอียดของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยการเก็บข้อมูลจากครูผู้สอนในรายวิชาวัดละเอียดสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดสกลนคร จำนวน 12 คน นักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร จำนวน 100 คน และกลุ่มเป้าหมายที่นำเครื่องมือไปทดลองได้แก่ ครูผู้สอนในรายวิชาวัดละเอียดจากวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร วิทยาลัยการอาชีพพรรณนานิคม วิทยาลัยเทคนิคสว่างแดนดินและวิทยาลัยอาชีวศึกษาสกลนคร จำนวน 4 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง คู่มือชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองในรายวิชาวัดละเอียดเพื่อพัฒนาทักษะการวัดละเอียด และแบบประเมินผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การตีความ และหาค่าเฉลี่ยดัชนีความสอดคล้อง
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาวัดละเอียดที่มีสื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีสำเร็จรูปได้นำมาออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาการวัดละเอียด ตามแนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning Theory) และการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-Directed Learning) มาเป็นขั้นตอนในการจัดการเรียนการสอน โดยกำหนดองค์ประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาการวัดละเอียด ได้แก่ เขียนแผนการจัดการเรียนรู้บทบาทของครูผู้สอน/ผู้เรียน ทักษะที่จะส่งเสริมในการวัดละเอียดมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผลงาน/ภาระงานของผู้เรียน และการวัดประเมินผลที่สอดคล้องและตอบสนองต่อการพัฒนาทักษะการวัดละเอียด จึงได้คู่มือชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายวิชาวัดละเอียดเพื่อส่งเสริมทักษะการวัดละเอียดของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยมีสื่อการสอนคือ Google site และ 2) ผลการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ พบว่าคุณภาพของชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยระดับมาก และสรุปการสะท้อนผลจากประสบการณ์ผู้ใช้ในการสอนรายวิชาวัดละเอียด พบว่าชุดกิจกรรมนี้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดให้มีคุณภาพเพื่อใช้จัดการเรียนการสอนในการส่งเสริมทักษะการวัดละเอียดของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพต่อไปได้อีก
This research aims to 1) develop an innovative learning management approach that combines experiential learning with self-directed learning to enhance the precision measurement skills of vocational certificate students, and 2) study the effects of using this innovative learning management approach on the precision measurement skills of these students. Data were collected from 12 precision measurement teachers under the Office of the Vocational Education Commission in Sakon Nakhon Province, 100 second-year vocational certificate students from Sakon Nakhon Technical College, and 4 target group teachers who tested the tools. The target group teachers were selected from Sakon Nakhon Technical College, Phannanikom Vocational College, Sawang Daen Din Technical College, and Sakon Nakhon Vocational College through stratified sampling. The research tools included questionnaires, structured interviews, an activity manual for experiential and self-directed learning in precision measurement, and an evaluation form for the learning innovation. Data analysis was conducted using content analysis, interpretation, and calculation of the mean congruence index.
The research findings revealed that: 1) The activity set for precision measurement courses incorporated teaching media with ready-made technology, designed based on the principles of Experiential Learning Theory (ELT) and Self-Directed Learning (SDL). The components of the activity set included lesson plans, roles of teachers and students, content to be promoted in precision measurement, teaching activities, student projects/tasks, and evaluation methods that align with and support the development of precision measurement skills. This resulted in a "Manual for the Learning Activity Set for Precision Measurement Courses to Enhance Precision Measurement Skills of Vocational Certificate Students" with Google Site as the teaching medium: and 2) The quality of the learning management innovation was found to be high, Reflection from users' experiences in teaching precision measurement courses indicated that this activity set could be further developed and improved for use in teaching to enhance the precision measurement skills of vocational certificate students.
References
ด้วยเทคนิคการสอนแบบการฝึกลงมือปฏิบัติงาน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการ อาชีวศึกษา. 6(1). 104-114.
บุญจิรา วงษ์ปา, สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล, และ สัญชัย พัฒนสิทธิ์. (2566). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์แบบผสมผสานตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรม สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 11(5). 1787-1799.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาสน์.
พรชัย จินดามล ชยากานต์ เรืองสุวรรณ และ ไพศาล วรคำ. (2566). การศึกษาองค์ประกอบทักษะปฏิบัติของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 11(1). 117-132.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2565). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 (ปรับปรุง พ.ศ. 2565). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2563). การวิจัยการออกแบบทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
อุทัย ซุ่นใช้ วีระ วงศ์สรรค์ และธนาดล สมบูรณ์. (2563). การพัฒนาความสามารถทางการเรียนวิชาวัดละเอียดด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD). วารสารวิจัยธรรมศึกษา. 3(1). 36-43.
Knowles, M. S. (1975). Self-directed learning: A guide for learners and teachers. New York : Association Press.
Kolb, D. A. (2005). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, NJ : Prentice Hall.