เหลียวหลัง - แลหน้า การใช้ภาษาไทยวิบัติในสังคมยุคนิวนอร์มอล

Looking Back and Moving Forward of Thai Language Woe Using in New Normal Era

  • พระมหานพรัตน์ ขนฺติธมฺโม (ศิลากุล) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร
  • เจษฎา จันทนาภรณ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร
  • ไกรเทพ ผลจันทร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

Abstract

บทคัดย่อ


บทความนี้ต้องการสะท้อนถึงคุณค่าความเป็นศาสตร์และศิลป์ของภาษาไทยที่สร้างสรรค์ขึ้นจากบรรพบุรุษและเป็นมรดกอันล้ำค่าที่ตกทอดมาสู่คนรุ่นปัจจุบัน ภาษาไทยเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรากฐานมาจากออสโตรไทย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษาจีน มีหลายคำที่ขอยืมมาจากภาษาจีน พ่อขุนรามคำเเหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1826 ภาษาไทยได้ดัดแปลงลงมาจากบาลีและสันสกฤต ภาษาไทยเป็นทั้งวัฒนธรรม เอกลักษณ์ และความภูมิใจของคนไทย แต่ในปัจจุบันมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ใช้ภาษาไทยได้ไม่ดีพอ จนเกิดปัญหาการสื่อสารและเข้าใจความหมายของภาษาในทางที่ผิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นต้นเหตุที่จะทำให้เสน่ห์ของภาษาไทยค่อยๆ เลือนหายไป


มุมมองของสังคมบางกลุ่มก็มีความกังวลว่าคนไทยรุ่นใหม่ซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการสื่อสารในโลกออนไลน์ จะเคยชินกับการใช้ภาษาไทยเน็ตและนํามาใช้สื่อสารในภาษาพูดและภาษาเขียนในชีวิตประจําวันจนส่งผลกระทบต่อภาษาไทยมาตรฐานซึ่งถูกกําหนดให้เป็นภาษาประจําชาติ ในขณะที่มุมมองของนักภาษาไม่ได้มีความวิตกกับอิทธิพลของภาษาไทยเน็ต หากแต่เห็นว่าเป็นปรากฏการณ์ของภาษาเป็นการสร้างสรรค์ทางภาษารูปแบบหนึ่ง เป็นภาษาเฉพาะกลุ่มของคนรุ่นใหม่ ซึ่งสร้างภาษาไทยเน็ตขึ้นมาเพื่อใช้สื่อสารกันในโลกออนไลน์เท่านั้น ในกรณีที่มีบุคคลเข้ามาร่วมสนทนาแล้วใช้ภาษาไทยมาตรฐาน ก็จะถูกมองว่าเป็นบุคคลนอกกลุ่ม บางทีอาจจะไม่ได้รับความไว้วางใจร่วมสนทนาด้วย ปรากฎการณ์ทางสังคมของคนทั้งสองกลุ่มได้เหลียวหลัง แลหน้าถึงการใช้ภาษาไทยวิบัติในสังคมยุคนิว นอร์มอล และสะท้อนผ่านแนวคิดปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์


Abstract


This article aim to reflect on the scientific and artistic value of the Thai language that was created by our ancestors and is a valuable legacy passed down to the present generation. Thai language is the oldest language in Southeast Asia. Thai language has its roots in Austro-Thai which is similar to Chinese. There are many words borrowed from the Chinese language. The King RamKhamheang invented the Thai script in 1826. Thai language has been adapted from Pali and Sanskrit. The Thai language is both a cultural identity and a pride of Thai people. But nowadays, there are quite a few Thai people who don't speak Thai well enough. Until communication problems arise and misunderstand the meaning of language which all these things are the cause of the charm of the Thai language gradually fade away.


Some social perspectives are concerned that young Thais who spend most of their time communicating online. They were accustomed to using Thai Net and used to communicate in spoken and written language in daily life until it affected the standard Thai language, which was designated as the national language. While the linguist's point of view is not concerned with the influence of ThaiNet language. But seen as a language phenomenon, a form of linguistic creativity is the specific language of the new generation which created Thai Net language for use in the online world only. The social phenomenon of both groups of people turned back. It further depicts the use of the Thai language woe in New-Norman society and is reflected through the concept of symbolic interaction.

References

กานต์รวี ชมเชย (2556) ภาษาไทยเน็ต: ภาษาเฉพาะกลุ่มของคนไทยรุ่นใหม่ในการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตแผนงานอนุรักษ์ ส่งเสริม และพัฒนาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ผลผลิต : ผลงานทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม ประจําปี งบประมาณ 2556

ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ (2563) วันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 จาก https://teen.mthai.com
ครูบ้านนอก ดอทคอม (2563) ความสำคัญของภาษาไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 จาก https://www.kroobannok.com

จุฬาภรณ์ มาเสถียรวงศ์ (2550) เด็กไทยบนทางสามแพร่ง : บทสังเคราะห์กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัดในโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด. กรุงเทพฯ : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

จุพาพร ผิดแลงาม. (2553). การใช้ภาษาไทยที่บกพร่องของสังคมไทยปัจจุบัน สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2563 จาก http://www.learners.in.th

ธัญญลักษณ์ เหล็กพิมาย. (2551). แนวทางแก้ปัญหาการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2563 จาก http://www.uniserv.buu.ac.th

นิตยา กาญจนะวรรณ (2554) ภาษาของโลกไร้สาย: จัดการอย่างไรดี. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “นโยบายภาษาต่างประเทศ : ภาวะวิกฤตที่ต้องแก้” วันที่ 29-30 สิงหาคม 2554 ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชันเซนเตอร์ กรุงเทพมหานคร.

นัฐวุฒิ สิงห์กุล, 2563) แนวคิดปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2563 จาก http://nattawutsingh.blogspot.com

ระพิชญ์ ไพโรจน์ (2563) เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 จาก https://education.kapook.com

วัยรุ่นกับการใช้ภาษา (2563) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการใช้ภาษาไทยของวัยรุ่น สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2563 จาก http://wc58.blogspot.com

ศิริพร ครองเคหา. (2552). ภาษาไทยกับวัยรุ่น สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2563 จาก http://www.learners.in.th

Education Z2563) เรียงความวันภาษาไทยแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 จาก https://education.kapook.com

New Normal (2563) อะไรๆ ก็ New Normal แท้จริงแล้ว New Normal คืออะไร? สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2563 จาก https://workpointtoday.com
Published
2020-12-07
How to Cite
ขนฺติธมฺโม (ศิลากุล), พระมหานพรัตน์; จันทนาภรณ์, เจษฎา; ผลจันทร์, ไกรเทพ. เหลียวหลัง - แลหน้า การใช้ภาษาไทยวิบัติในสังคมยุคนิวนอร์มอล. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มมร, [S.l.], v. 8, n. 2, dec. 2020. ISSN 2408-199X. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/edj/article/view/1144>. Date accessed: 05 dec. 2024.