การมีส่วนร่วมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ด
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมการมีส่วนร่วมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของคณะกรรมการสถานศึกษา 2)เปรียบเทียบในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของคณะกรรมการสถานศึกษา 3)ศึกษาข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดร้อยเอ็ดกลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการสถานศึกษาในสถานศึกษา จำนวน 123 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent samples) และ F-test (One way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการมีส่วนร่วมในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลโดยรวมอยู่ในระดับมากโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำ ได้แก่ ด้านการให้คำปรึกษาและพิจารณาให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานด้านการระดมทุนทางสังคมและทรัพยากรด้านการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานและด้านการวางแผนการดำเนินงาน 2. เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของคณะกรรมการสถานศึกษา จำแนกตามเพศโดยรวม และด้านการระดมทุนทางสังคมและทรัพยากร ด้านการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามอายุและอาชีพไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านการให้คำปรึกษาและพิจารณาให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานด้านการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของคณะกรรมการสถานศึกษา ควรเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามาส่วนคิดตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมทำงาน ร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาภายในสถานศึกษาควรสร้างความรู้สึกผูกพันเพื่อร่วมกันในการบริหารสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรมีการตรวจสอบ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
References
พิชัยรัฐ หมื่นด้วง. (2561). การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารงานท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองหนองบัวลำภูอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 6(1). 255-270.
วิภาส ทองวิสุทธิ์. (2551). การบริหารจัดการที่ดี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อินทภาษ.
สมบูรณ์ ศิริชัย. (2550). เศรษฐกิจไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์(เอกสารในการสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2550. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมยศ นาวีการ. (2553). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2561 จากhttp://gotoknow.org/blog/mathu/334443
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะหลัก. นนทบุรี : บริษัทประชุมช่าง จํากัด.
สุภาพร พิศาลบุตร. (2550). การวิเคราะห์งาน. กรุงเทพฯ : วิรัตน์เอ็ดดูเคชั่น.
อรทัย ทวีระวงษ์. (2557). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
Blumel, Christina M. (2000). Foreign Aid, Donor Coordination and the Pursuit of Good Governance (Kenya). Maryland : University of Maryland.
Harley, B., Hyman, J.and Thompson, P. (2005). Participation and Democracy at Work: Essaya in Hooour of Havie Ramsay. New York: Paalgrave Macmillan.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Litwin, G. H., & Stringer, R. A. (1968). Motivation and Organization Climate. Bonton : Division of research, Graduate school of business administration, Havard University.
Milstein, M. M., &Belasco,J. A. (1973). Educational administration and the behavioral sciences: A systems perspective. Boston, MA : Allyn & Bacon.
Organ, D.W.; Podsakoff, P. M and MacKencie, S.B. (2006). Organization Citizenchip Behavior: It's Nature, Antecedent, and Consequences. Thousand Oaks, CA : Sage.
Swansburg, R. C. (1996). Management and leadership for nurse managers. 2th ed. Bonton : Jones and Bartlett.
Upenieks, V. V. (2002). What constitutes successful nurse leadership?. Journal of Nursing Administration. 32(12). 622 - 632.