การจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ป่าชุมชนดงหัน บ้านท่าม่วง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

  • กนกวรรณ ทุมอนันต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • อดิศักดิ์ ทุมอนันต์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • ฉัตรชัย ชมชารี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการจัดการป่าแบบมีส่วนร่วมป่าชุมชนดงหัน 2)เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการอนุรักษ์ป่าชุมชน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 20 คน การวิเคราะห์ข้อมูลให้วิธีการเชิงพรรณนาวิเคราะห์


            ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการป่าแบบมีส่วนร่วมป่าชุมชนดงหัน มีการวางโครงสร้างการบริหารการทำงานอย่างชัดเจน เน้นกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม ผู้นำชุมชนและหน่วยงานเทศบาลตำบลท่าม่วงเป็นผู้บริหารงานหลัก มีการระดมคนในชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน โรงเรียน วัด และหน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนดงหัน โดยมีการวางแผนล่วงหน้าในการจัดกิจกรรม ได้แก่ การปลูกป่า บวชป่า และมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ป่าชุมชนดงหัน 2. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลท่าม่วง ปราชญ์ชาวบ้านและผู้นำชุมชนเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมโดยให้ โรงเรียนและศาสนาเข้ามามีบทบาทในการอนุรักษ์ป่าชุมชน ได้แก่ การทำพิธีบวชป่า เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดการหวงแหน การศรัทธา เกรงกลัวในการตัดไม้ทำลายป่า จัดตั้งคณะกรรมการสอดส่องดูแลอย่างเป็นระบบให้ชัดเจน และครอบคลุมให้ทั่วพื้นที่ป่าชุมชนดงหัน

References

จุฬาภรณ โสตะ. (2543). กลยุทธ์เพื่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ. วารสารศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแกน. 8(1). 18-22.

ทองใบ สุดชารี. (2543). ภาวะผู้นำและการจูงใจ. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

นันทพงศ์ ปุณขันธ์. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนโคกป่าซี ตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทนสนับสนุนการวิจัย.

สมหญิง สุนทรวงษ์. (2554). แนวคิดและรูปแบบของ REDD ที่เหมาะสมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนและเป็นธรรมในบริบทสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

อรทัย ก๊กผล. (2546). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิปริญญาโทสำหรับนักบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Published
2021-06-09
How to Cite
ทุมอนันต์, กนกวรรณ; ทุมอนันต์, อดิศักดิ์; ชมชารี, ฉัตรชัย. การจัดการป่าชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ป่าชุมชนดงหัน บ้านท่าม่วง ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 5, n. 1, p. 33-41, june 2021. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/1451>. Date accessed: 26 nov. 2024.
Section
Research Article