การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี
THE INTERNAL QUALITY ASSURANCE OF EDUCATIONAL INSTITUTIONS UNDER THE PROVINCIAL OFFICE OF THE NON-FORMAL AND INFORMAL EDUCATION, LOPBURI PROVINCE
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษากับปัจจัยส่วนบุคคล และ 3)เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ F-test (One Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพด้านการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองและด้านการติดตามผลการดำเนินงาน 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็น พบว่า บุคลากรในสถานศึกษา ที่มีอายุตำแหน่งและประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ทั้งโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะ มีดังนี้ 1)ควรจัดอบรมการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ 2)คณะกรรมการสถานศึกษาควรมีส่วนร่วมจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา 3)ควรจัดสรรบุคลากรให้ครบทุกสาระการเรียนรู้และวางแผนปฏิทินแผนงานตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 4)ควรจัดอบรมการสร้างเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูลการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา 5)ควรจัดทำเครื่องมือการติดตามผลการดำเนินงานให้ชัดเจนและต่อเนื่อง 6)ควรจัดอบรมวิธีการเขียนรายงานการประเมินตนเอง
References
กรมวิชาการ. (2542). การประกันคุณภาพของสถานศึกษา เอกสารการประกันคุณภาพการศึกษา.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
พัชรีวรรณ ทำมาเกตุ. (2558). การดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
เพ็ญศรี พรมพิลา. (2558). การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของกลุ่มสถานศึกษาที่ 15 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เรวัติ ชำนาญเท. (2559). การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามวงจรคุณภาพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วิวัฒน์ น้อยพิทักษ์. (2563). สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงาน กศน.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี. (2563). รายงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี ประจำปีงบประมาณ 2563. ลพบุรี : สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี.
แสงมณี วงศ์คูณ. (2559). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.