การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการให้คำปรึกษานักเรียนระดับมัธยมศึกษา ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย
The Development Counseling Skills Program for Teachers in the Secondary Educational Service Area Office Nongkhai
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นด้านการให้คำปรึกษานักเรียนระดับมัธยมศึกษาของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย 2)เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการให้คำปรึกษานักเรียนระดับมัธยมศึกษาของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคายกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูแนะแนวหรือครูที่ปรึกษา จำนวน 333 คนกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนต้นแบบ จำนวน 3 โรงเรียนรวมจำนวน 9 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันการให้คำปรึกษานักเรียนระดับมัธยมศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นเรียงลำดับความต้องการจำเป็น ได้ดังนี้ การวางแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติการหาแนวทางแก้ไขการยุติการให้คำปรึกษาการสำรวจและทำความเข้าใจปัญหา ผลกระทบ ความต้องการและกำหนดเป้าหมาย และการสร้างสัมพันธภาพ ตามลำดับ 2. ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการให้คำปรึกษานักเรียนระดับมัธยมศึกษาของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย สรุปได้ว่า โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นใช้องค์ประกอบของขั้นตอนการให้คำปรึกษาเป็นกรอบเนื้อหา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ การสร้างสัมพันธภาพ การสำรวจและทำความเข้าใจปัญหา ผลกระทบ ความต้องการและกำหนดเป้าหมายการหาแนวทางแก้ไขปัญหาการวางแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ และการยุติการให้คำปรึกษา ใช้วิธีการพัฒนาครูตามหลักการ 70 : 20 : 10 องค์ประกอบของโปรแกรมประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการดำเนินการ และการประเมินผลผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการให้คำปรึกษานักเรียนระดับมัธยมศึกษาของครูมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). คู่มือครูที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ : ยูเรนัสอิมเมจกรุ๊ป.
ปภาวรินท์ เศรษฐไตรรัตน์. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะครูที่ปรึกษาธุรกิจเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนนักศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 33(117). 37-46.
ยุพาวดี เกริกกุลธร. (2561). การพัฒนาสมรรถนะครูที่ปรึกษาตามแนวคิดการมีสติและการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6(4). 1541-1555.
ลักขณา สริวัฒน์. (2560). ทฤษฎีและเทคนิคการให้คำปรึกษา. กรุงเทพฯ : โอ.เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
วิทยา วิจิตร. (2557). 70:20:10 Framework. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562. จาก http://indochi nahub.blogspot.com/2011/08/702010-framework.html
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การให้คำปรึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.