การเปรียบเทียบเวลาปฏิกิริยาตอบสนองในการเตะขวางลำตัวของนักกีฬาต่อสู้
Response Time Comparison Assessment for Roundhouse Kick of Combative Athletes
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพด้านความเร็วของการเตะขวางลำตัวของนักกีฬาต่อสู้ 2)เพื่อหาความสัมพันธ์ของเวลาปฏิกิริยาตอบสนองการเตะขวางลำตัวของนักกีฬาต่อสู้ด้วยเครื่องมือรุ่น RST64 โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 60 คน อายุ 18-25 ปี แบ่งเป็นนักกีฬาปันจักสีลัตชาย 10 คน หญิง 10 คน เทควันโดชาย 10 หญิง 10 คน มวยไทยชาย 10 คน หญิง 10 คน และวิเคราะห์ความแตกต่างของข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู โดยวิธีของทูกีย์
ผลการวิจัยพบว่า นักกีฬาเทควันโดเพศชายและหญิงมีค่าเฉลี่ยของความเร็วในการเตะขวางลำตัวที่ดีกว่านักกีฬาปันจักสีลัตและนักกีฬามวยไทย ค่าเฉลี่ยของเวลาปฏิกิริยาตอบสนองในนักกีฬาต่อสู้มีระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ของเวลาปฏิกิริยาตอบสนองในการเตะขวางลำตัวของนักกีฬาต่อสู้ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของความเร็วในการเตะขวางลำตัวของนักกีฬาปันจักสีลัต เพศชายและหญิงมีความสัมพันธ์กับนักกีฬาเทควันโดและมวยไทยและมีความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วในการเตะขวางลำตัวของนักกีฬาปันจักสีลัตนักกีฬาเทควันโดและมวยไทยอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ 0.05
References
ธราดล ดีประชา. (2556). รูปแบบการเคลื่อนไหวแบบคิเนเมติกส์ในทักษะเตะตัดบนของนักกีฬามวยไทยสมัครเล่นในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธวัชชัย ไกรทองสุข. (2564). การทดสอบสมรรถภาพด้านปฏิกิริยาตอบสนองในการเตะเฉียงของนักกีฬาต่อสู้. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
นักรบ ทองแดง. (2553). ผลของการฝึกเตะสองแบบที่มีต่อความเร็วของการเตะในกีฬาปันจัก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกําลังกาย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิษณุ ฟองศรี. (2550). การประเมินทางการศึกษา : แนวคิดสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บริษัท พร็อพเพอร์ตี้พริ้นท์ จํากัด.
วรรษธรา ธรรมชูโต. (2558). การสร้างชุดอุปกรณ์ทดสอบความสามารถที่เฉพาะเจาะจงกับกีฬาปันจักสีลัต. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Burke, R., Hammond, K., Young, B. (1997). The Find Me Approach to Assisted Browsing. IEEE Expert. 12(4). 32-40.
Sheppard, J. M. and W.B. Young. (2006). Agility literature review: Classifications, training and testing. Journal of Sports Sciences. 24(9). 919-932.
Thomas J., J. Nelson and S. Silverman. (2011). Research Methods in Physical Activity. 6th ed. Champaign, IL : Human Kinetics.