ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้นำ หลักธรรมาภิบาล และประสิทธิผลขององค์กร กรณีศึกษา วิทยาลัยสงฆ์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
The Relationship between Leadership Style, Good Governance and Organizational Effectiveness of Monastic College in the South of North Eastern
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาลักษณะองค์ประกอบที่สำคัญของภาวะผู้นำ หลักธรรมาภิบาล และประสิทธิผลขององค์กรในวิทยาลัยสงฆ์เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2)เพื่อพิจารณาและสืบค้นความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของภาวะผู้นำ หลักธรรมาภิบาล ที่มีต่อประสิทธิผลขององค์กร 3)เพื่ออธิบายองค์ประกอบอะไรบ้างของภาวะผู้นำ หลักธรรมาภิบาลที่สามารถพยากรณ์หรือมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลขององค์กร 4)เพื่อเสนอแนะลักษณะภาวะผู้นำและองค์ประกอบอื่นๆ ของหลักธรรมาภิบาลที่ผู้นำในวิทยาลัยสงฆ์ สามารถนำไปใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิผลขององค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ภิกษุ และฆราวาส ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารวิทยาลัยสงฆ์ จำนวน 366 รูป/คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลวิจัยที่พบว่า 1. ลักษณะองค์ประกอบที่สำคัญของภาวะผู้นำ หลักธรรมาภิบาล และประสิทธิผลขององค์กรในวิทยาลัยสงฆ์เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบภาวะผู้นำ หลักธรรมาภิบาลที่มีต่อประสิทธิผลขององค์กรมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันระดับมากถึงมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่า r ระหว่าง .793-.854 3. อิทธิพลที่มีต่อประสิทธิผลองค์กร ประกอบด้วย ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Beta .41, Sig. .000) และภาวะผู้นำแบบตามสบาย (Beta .15, Sig. .000) มีอิทธิพลร่วมกันกับหลักธรรมาภิบาลด้าน การมีส่วนร่วม (Beta .21, Sig. .000) นิติธรรม (Beta .09, Sig. .037 และความโปร่งใส (Beta .09, Sig. 044) โดยทั้ง 5 ตัวแปรมีอิทธิพลร่วมกันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. การพัฒนาประสิทธิผลของวิทยาลัยสงฆ์นั้น จำเป็นต้องพัฒนาผ่าน รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำตามสบาย ร่วมกับส่วนประกอบสำคัญตามหลักธรรมาภิบาล ที่ประกอบด้วย นิติธรรม การมีส่วนร่วม และความโปร่งใส โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมแสดงความเห็น ที่ต้องแสดงความเคารพต่อความแตกต่างเหล่านั้นอย่างเท่าเทียมกัน ตั้งแต่การปฏิบัติงานตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติไปจนถึงการเปิดเผยข้อมูลจากการทำงานของทุกคนในวิทยาลัย เพื่อมุ่งเน้นการนำไปใช้ประโยชน์เชิงสร้างสรรค์กับวิทยาลัย และด้วยเหตุนี้ทำให้ความเห็นที่เกี่ยวกับผู้บริหารองค์กร หรือวิทยาลัยสงฆ์ ส่งผลให้เกิดความแตกต่างต่อประสิทธิผลขององค์กรได้
References
ภัทราวดี มากมี. (2559). การพัฒนาโมเดลการวัดประสิทธิผลองค์กรภาครัฐ ในเขตอาเซียน: การพัฒนาโมเดล สมการโครงสร้างพหุระดับ. วารสารสมาคมวิจัย. 21(1). 34-48.
วรางคณา กาญจนพาที และเนตร์พัณณา ยาวิราช. (2557). ภาวะผู้นำและภาวะผู้ตามที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์กร กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ. 9(2). 58-68.
ศรีสกุล เจริญศรี ไชยา ยิ้มวิไล และปิยากร หวังมหาพร. (2559). ธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์กรกับประสิทธิผลองค์กรของหน่วยงานในสังกัด สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. วารสารช่อพะยอม. 27(1). 47-62.
Covey, S. (2004). The 7 habits of highly effective people: Powerful lessons in personal change. New York : Free Press.
Hoy, W.K. & Ferguson, J. (1985). A theoretical framework and exploration of organization effectiveness of schools. Educational Administration Quarterly. 21(2). 117-134.
Nwanegho, J.C. (2016). Democratic leadership and good governance in Nigeria. In Okohe, A., Ibrahim, S. and Saliu, H. Governance, economy and national security in Nigeria : Nigerian Political Sciences Association.
Taylor, P. (1997). The United Nations and international organizational organizations. In Baylise and Smith, S. The globalization of world politics: An Introduction to International Relation. New York : Oxford University Press.