ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1
Innovative Leadership of School Administrators Affecting the School Learning Organization under Yasothon Primary Educational Service Area Office 1
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร 2)เพื่อศึกษาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 3)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา คือด้านการบริหารความเสี่ยง ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างบรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรมด้านการสร้างแรงจูงใจและด้านการมีความคิดสร้างสรรค์โดยตัวแปรทั้ง 5 ร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา ร้อยละ 72.60 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กันตยา เพิ่มผล. (2543). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สถาบัน ราชภัฏสวนดุสิต.
กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). องค์กรแห่งนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกรียงศักดิ์เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking). (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.
ขวัญชนก โตนาค. (2556). การวิเคราะห์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ขวัญฤทัย ทองธิราช. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับสภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
จุฑาทิพย์ ชนะเคน. (2559). การศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชาญณรงค์พรรุ่งโรจน์.(2546). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : บริษัทด่านสุธาการพิมพ์จำกัด.
ดวงใจ ช่วยตระกูล. (2552). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2551). มนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สหธรรมมิก.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ: กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2546). หลักการและระบบบริหารการศึกษา. นนทบุรี : อมรินทร์การพิมพ์.
รุ่ง แก้วแดง. (2546). โรงเรียนนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2549). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตรงของประสิทธิผลของภาวะผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1.(2561). การพัฒนาในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2562. จาก http://yst1.go.th
สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิษณุโลก : พิษณุโลกดอทคอม.
สุกัญญา พรมอารักษ์. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์กรขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยนครพนม.
สุดา ทัพสุวรรณ. (2541). หน้าที่ของผู้นำในการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Adair, John E. (1996). Effective Innovation: How to Stay Ahead of the Competition. London : Pan Books.
Basadur, M. (2008). Leading other to think innovatly together: Creative leadership. Jourmal of TheLeadership Quarterly. 15(1). 103-121.
Bass, B. M. (1990). Bass and Stogdill’s Handbook of Leadership: Theory, research, and managerial applications. 3rd ed. New York : The Free Press.
Marquardt, M. J., and Reynolds, A. (1994). The Global Learning Organization. New York : Irwin.
Marquardt, M.J. (1996). Building the Learning organization: A systems approach to quantum improvement and global success. New York : McGraw - Hill.
Senge, Peter M. and others. (1994). The Fifth Discipline : Strategy and Tool for Building a Learning Organization. New York : Doubleday.