หลักการคบเพื่อนในพุทธปรัชญาเถรวาท
Principles of Friendship in Theravada Buddhist Philosophy
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการคบเพื่อนในพุทธปรัชญาเถรวาท จากการศึกษาพบว่าเพื่อนหรือมิตรตามทัศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทมีลักษณะ 8 ลักษณะตามนิสัยและจุดมุ่งหมายในการคบหาเพื่อนของแต่ละบุคคล เพื่อนทั้ง 8 ลักษณะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้กลุ่ม 4 ลักษณะ กลุ่มที่ 1 มีดังนี้ คือ 1)คนปอกลอก 2)คนดีแต่พูด 3)คนหัวประจบ 4)คนชักชวนในทางฉิบหาย ส่วนกลุ่มที่ 2 มี 4 ประเภท คือ 1)เพื่อนมีอุปการะ 2)เพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์ 3)เพื่อนแนะประโยชน์ และ 4)เพื่อนมีความรักใคร่เพื่อนทั้งสองกลุ่มนี้ มีลักษณะนิสัยและจุดหมายในการคบเพื่อนที่ต่างกัน กลุ่มแรกมีนิสัยไปในทางที่เสื่อมเสีย และมีผลประโยชน์ของตนเองเป็นจุดหมายหลักในการเลือกคบเพื่อนแต่ละคน กลุ่มนี้พุทธปรัชญาเถรวาทบอกว่าไม่ควรจะคบเป็นเพื่อน เพราะจะทำให้ตนเองและครอบครัวเดือดร้อน ส่วนกลุ่มที่2 เป็นบุคคลที่มีนิสัยดี เป็นที่มีความรักความจริงใจให้กับเพื่อนเสมอ และมุ่งที่ผลประโยชน์ของเพื่อนมากกว่าตนเอง กลุ่มที่ 2 นี้เป็นเพื่อนแท้ ที่ควรที่จะคบหาไว้เป็นเพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์ เพราะจะนำมาแต่ความสุขความเจริญต่อผู้ที่คบหากับเพื่อนแท้เป็นมิตร
References
พระมหารัศมี ชุติโก. (2547). ศึกษาเปรียบเทียบมิตรภาพในพุทธปรัชญาเถรวาทกับอริสโตเติล.วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2541). เพื่อน. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2514). ทิศธรรมไหว้ทิศอย่างอารยชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมบูชา.
พุทธทาสภิกขุ. (2555). ภาษาคน ภาษาธรรม. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 16 ทีฆนิกายปฏิกวรรค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.