การรับรู้ทางการเมือง การกล่อมเกลาทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของเยาวชนในประเทศไทย

POLITICAL AWARENESS, POLITICAL TROLLING AND POLITICAL PARTICIPATION OF YOUTH IN THAILAND

  • พรรชรนันท์ สายจันดี มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
  • ธรรรมนิตย์ วราภรณ์ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
  • ชัยยศ จินารัตน์ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับองค์ประกอบของการรับรู้ทางการเมือง  การกล่อมเกลาทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนไทย 2)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ทางการเมือง การกล่อมเกลาทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมือง 3)เพื่อศึกษาอิทธิพลปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การรับรู้ทางการเมือง การกล่อมเกลาทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนไทย มีอะไรบ้างและเป็นอย่างไร และ 4)เพื่อเสนอแนะปัจจัยที่สำคัญที่เป็นเหตุของการกล่อมเกลาทางการเมืองและมีผลกระทบทำให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนในประเทศไทยให้แก่นักวิชาการ นักการเมืองได้เรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มเยาวชน ที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย เขตจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และยโสธร จำนวน 370 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


            ผลการวิจัยพบว่า 1. การรับรู้ทางการเมือง การกล่อมเกลาทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยภาพรวมอยู่ในระดับระดับปานกลาง โดยตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การรับรู้ทางการเมือง รองลงมาคือ การกล่อมเกลาทางการเมือง และน้อยที่สุด คือ การมีส่วนร่วมทางการเมือง  2. การรับรู้ทางการเมือง การกล่อมเกลาทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมือง มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในระดับน้อย โดยมีค่า r ระหว่าง .438 - .550 3. อิทธิพลปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การรับรู้ทางการเมือง การกล่อมเกลาทางการเมือง และ   การมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนไทย ประกอบด้วยความไว้วางใจแบบกระจาย ความไว้วางใจเฉพาะเจาะจง การรับรู้ภายใน กลุ่มเพื่อน และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ทั้งนี้มีผลทดสอบ F เท่ากับ 165.963 (Sig. 001) ส่วนคะแนนมาตรฐาน หรือสัมประสิทธิ์พยากรณ์ของแต่ละตัวแปรนั้นประกอบด้วย .286, .284, .188, .089 และ .105 นอกจากนี้แล้ว ตัวแปรทั้งหมดมีอำนาจพยากรณ์อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่า R2 = .695หากแต่มีระดับความคลาดเคลื่อน .39 หรือมีความมีน่าเชื่อถือของการพยากรณ์เท่ากับ .691 หรือมีอำนาจพยากรณ์อยู่ในระดับปานกลาง 4. การมีส่วนร่วมทางการเมืองกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่นั้น เกิดจาก 1)การทำกิจกรรมสาธารณะด้วยความสมัครใจ 2)การเฝ้าติดตามผลกระทบจากการใช้อิทธิพลทางการเมือง 3)กำเนิดแนวคิดทางการเมือง ซึ่งอาจเป็นผลต่อเนื่องจากการรับฟังแนวคิดหรืออุดมคติทางการเมือง 4)ความรวดเร็วของการสื่อสารในสังคม Online 5)ความรอบรู้ภายใน 6)ความชื่นชมเฉพาะตัว 7)กลุ่มเพื่อน

References

กฤษชพลณ์ บุญครอง และศิวัช ศรีโภคา. (2562). นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น กับความตื่นตัวทางการเมือง. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจ และการเมือง. 8(3). 94-119.

ไทยรัฐ. (2563). นักเรียน นักศึกษาสนใจการเมืองไม่ดีหรือ?. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564. จากhttps://www.thairath.co.th/news/politic/1913593

นันทพัทธ์ ชัยโฆษิตภิรมย์. (2559). การเมืองในชีวิตประจำวันของประชาชนในพื้นที่ชนบท กรณีศึกษา ในหมู่บ้านภาคกลางแห่งหนึ่ง. วารสารสหวิทยาการวิจัย ฉบับบัณฑิตศึกษา. 5(1). 54-61.

เปรมศักดิ์ แก้วมรกฎ. (2561). วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 12(พิเศษ). 217-225.

พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2563). นักเรียน นักศึกษา กับการฟื้นตัวกลับมาชี้นำการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใหม่อีกครั้ง. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564. จาก https://www.matichon.co.th/ newspaper-cover/news_2317641

Almond, G., &, Powell, B. (1966). Comparative Politics: A Development Approach. Boston : Little, Brown and Company.

Almond, G.A. & Verba, S. (1963). The civic culture: Political attitudes and democracy in five nations. Princeton, NJ : Princeton University Press.

Chiao, J.Y., Bowman, N.E. & Gill, H. (2008). The political gender gap: Gender bias in facial inferences that predict voting behavior. PLoS One. 3(10). e3666

Dahlgren, P. (2007). Young citizens and new media. Learning for democratic participation, New York and London : Routledge.

Dalton, R.J. (2000). Citizen attitudes and political behavior. Comparative Political Studies. 33(6-7). 912-940.

Fahmy, E. (2006). Young citizens. Young people’s involvement in politics and decision making. Hampshire : Ashgate.

Finifter, A.W. (1970). Dimensions of political alienation. American Political Science Review. 64(2). 389-410.

Jennings, M.K., & Stoker, L. (2004). Social trust and civic engagement across time and generations. Acta politica. 39(4). 342-379.

Kasse, M. (1999). Interpersonal trust, political trust and non-institutionalized political participation in Western Europe. West Europe Politics. 22(3). 1-21.

Levi, M. & Stoker, L. (2000). Political trust and trustworthiness. Annual Review of Political Science. 3(1). 475-507.

Miller, N.R. (1980). A new solution set for tournaments and majority voting: Further graph-Theoretical approaches to the theory of voting. American Journal of Political Science. 24(1). 68–96.
Published
2022-01-20
How to Cite
สายจันดี, พรรชรนันท์; วราภรณ์, ธรรรมนิตย์; จินารัตน์, ชัยยศ. การรับรู้ทางการเมือง การกล่อมเกลาทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของเยาวชนในประเทศไทย. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 26-40, jan. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/1897>. Date accessed: 26 nov. 2024.
Section
Research Article