การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ

DEVELOPING A PROGRAM TO STRENGTHEN TEACHER COMPETENCIES ON MEASUREMENT AND EVALUATION UNDER SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA UBON RATCHATHANIAMNAT CHAROEN

  • ชัยพร กาบบัว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุรเชต น้อยฤทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู 2)เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 346 คน ได้มาโดยวิธีการคำนวณหาจำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของประชากรในแต่ละชั้นภูมิแล้วสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นศึกษานิเทศก์ จำนวน 7 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น


             ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้   ของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้าน ได้แก่ ด้านการกำหนดจุดประสงค์การวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมาก ด้านการกำหนดขอบเขตการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมาก ด้านการเลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือในการประเมิน อยู่ในระดับมาก ด้านการวิเคราะห์ผลและวิธีการจัดการข้อมูลการประเมิน อยู่ในระดับปานกลาง และด้านการกำหนดเกณฑ์ในการวัดและประเมินผลอยู่ในระดับมาก 2. โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กิ่งแก้ว อารีรักษ์. (2546). การวัดและประเมินผลทางภาษา. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

กิรติยศ ยิ่งยง. (2549). การจัดการความรู้ในองค์การและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : มิสเตอร์ก็อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด.

เกษมศักดิ์ ปราบณรงค์. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการพัฒนาตนเองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดนุพล กาญจนะกันโห. (2560). การพัฒนาแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิวัตถ์ มณีโชติ. (2549). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี : เกรท เอ็ดดูเคชั่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พัชรา วาณิชวศิน. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำ : จากทฤษฎีสู่แนวปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2552). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : เฮ้าส์ออฟเคอร์มิสท์.

ยอดอนงค์ จอมหงษ์พิพัฒน์. (2553). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้นำการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศาสตรา สายสุนันทรารมย์. (2561). การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. (2563). ข้อมูลสารสนเทศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ปีการศึกษา 2563. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2563. จากhttp://www.secondary29.go.th/

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553) คู่มือการประเมินสมรรถนะครูสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2550). สำนักงานคู่มือหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). รายงานการวิจัยและพัฒนานโยบายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟิก.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อุมาพร ชิณแสน. (2559). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการด้านการวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Published
2022-02-09
How to Cite
กาบบัว, ชัยพร; น้อยฤทธิ์, สุรเชต. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 132-146, feb. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/1908>. Date accessed: 26 nov. 2024.
Section
Research Article