พัฒนาการเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรมครูสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูด้วยกระบวนการเรียนรู้ แบบพาคิดพาทำที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

A DEVELOPING OF TEACHERS’ MORALITY AND ETHIC LEARNING FOR STUDENTS IN TEACHER PROFESSION GRADUATE DIPLOMA PROGRAM BY USING THE LEARNING PROCESS OF LOGICAL THINKING AND DOING WHICH LEARNING CORRESPONDS TO THE 21st CENTURY

  • แสงดาว คงนาวัง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • แสงเดือน คงนาวัง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ แบบพาคิดพาทำที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2)เพื่อศึกษาผลพัฒนากระบวนการเรียนรู้ แบบพาคิดพาทำที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3)เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีต่อการเรียนรู้เรื่องการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา ด้วยกระบวนการเรียนรู้ แบบพาคิดพาทำที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การดำเนินการใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกนำไปพัฒนากลุ่มที่ 1 และระยะที่ 2 นำไปพัฒนากลุ่มที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือปีการศึกษา 2562 และ 2563 กลุ่มละ 30 คน รวม 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินด้านความรู้ ความเข้าใจ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบติดตามผลการปฏิบัติกิจกรรมของนักศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test


            ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบพาคิดพาทำ มี 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 สร้างความตระหนักรับรู้ ขั้นที่ 2 มุ่งสู่ร่วมกันคิดวิเคราะห์ ขั้นที่ 3 จดจ่อลงมือปฏิบัติ และขั้นที่ 4 รับการติดตามประเมินผล มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.84 2. ด้านความรู้ความเข้าใจคุณธรรม จริยธรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และมีผลติดตามประเมินผลการปฏิบัติในระดับดีมาก 3. ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้แบบพาคิดพาทำที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับดีมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

คชกรณ์ บัวคำ สุวิมล โพธิ์กลิ่น และสมาน อัศวภูมิ. (2558). แนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2561). หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

จำลอง บุญเรืองโรจน์ และคณะ. (2561). กระบวนการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบหน่วยบูรณาการ Active Learning สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2548). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม : การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ : โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2520). จริยธรรมของเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ปราชญา กลาผจญ (2544). คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : เยลโล่การพิมพ์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2557). เทคนิคการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ : บริษัทเฮ้าส์ออฟเคอร์มิสท์.

พุทธทาสภิกขุ. (2529). การศึกษาของโลกปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : ธนประดิษฐ์การพิมพ์.

วศิน อินทสระ. (2541). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ : ทองกวาว.

วิจารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.

สำนักงานนโยบายและแผนการจราจรและขนส่ง. (2538). คู่มือการติดตามและประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ : สำนักงานนโยบายและแผนการจราจรและขนส่ง.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ คุรุสภา.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ คุรุสภา.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุปราณี ปริยวาที. (2551). การพัฒนาจริยธรรมของเด็กปฐมวัยโดยการเล่านิทานและการติดตามผล.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

แสงเดือน คงนาวัง. (2559). การพัฒนาสมรรถนะการสอนของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการพัฒนา 5 ขั้น. นนทบุรี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1.

Dewey, J. (1963). Experience and Education. New York : Macmillan Publishing Company.

Maslow A. H. (1987). A Theory of Human Motivation In Jay M. Shafritz, and Albert C. 2nd ed. California : The Dorsey Press.
Published
2022-05-17
How to Cite
คงนาวัง, แสงดาว; คงนาวัง, แสงเดือน. พัฒนาการเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรมครูสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูด้วยกระบวนการเรียนรู้ แบบพาคิดพาทำที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 316-328, may 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/1924>. Date accessed: 26 nov. 2024.
Section
Research Article