การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้เพลงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

THE DEVELOPMENT OF ENGLISH LISTENING SKILL THROUGH ENGLISH SONGS OF THE THIRD YEAR STUDENTS IN ENGLISH TEACHING PROGRAM AT MAHAMAKUT BUDDHIST UNIVERSITY, ROI ET CAMPUS

  • กฤษณ์ ศรทัตต์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • ชัยวิชญ์ สีดาบุตร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • อัจฉรา ไชยราช มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • ธณพร โปมิน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • ณัฐพงษ์ ขจรแสงเจริญ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ  โดยใช้เพลงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด คณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 13 รูป/คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจงกับนักเรียนที่เรียนวิชา ทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบแผนการทดลองที่ใช้เป็นแบบฝึกก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบทดสอบความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษก่อนและหลังการทดลอง แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมิน และเกณฑ์การประเมินความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษ แบบบันทึกหลังการเรียนของนักเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อแผนการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และค่าอำนาจจำแนกรายข้อ


           ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้การการพัฒนาทักษะฟังภาษาอังกฤษโดยใช้เพลงภาษาอังกฤษ ที่ผลิตขึ้นมีประสิทธิภาพมีค่าเท่ากับ 82.72/83.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้เพลงภาษาอังกฤษ มีค่าเท่ากับ 0.5796 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 57.96 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนโดยใช้เพลงภาษาอังกฤษมีค่าคะแนนทดสอบหลังเรียน สูงกว่าค่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 23.33 4. นักเรียนมีความพึงพอใจในแผนการจัดการเรียนรู้การการพัฒนาทักษะฟังภาษาอังกฤษโดยใช้เพลงภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมีคุณภาพและความเหมาะสมมาก

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

ขวัญนคร ศิริขันธ์. (2560). รายงานการสร้างและพัฒนาชุดฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษจากเพลงสากล วิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ30209) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสว่างแดนดินสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. สกลนคร : โรงเรียนสว่างแดนดิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23.

ทองคำ พานจันทร์. (2545). การเปรียบเทียบผลสมฤทธิ์ทางการเรียนการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชินิบูรณะที่สอนโดยใช้เพลงกับการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีรวิทย์ ภิญโญณัฐกานต์. (2553). พูดภาษาอังกฤษอย่างไรให้ฝรั่งรู้เรื่อง British VS American. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2564. จาก http://www.sudipan.net./phpBB2/viewtopic

เนาวรัตน์ อินทรประสิทธิ์ และอาคม สระบัว. (2558). การใช้กิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมการออกเสียงต่อเนื่องกันในภาษาอังกฤษ. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุรีวิริยาสาส์น.

มาริสา กาสุวรรณ์. (2555). ประสิทธิผลของกิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษต่อการเรียนรู้และความคงทนของศัพท์และความสามารถด้านการพูด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์ศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

แรกขวัญ ครองงาม. (2547). การพัฒนาทักษะการฟัง-พูดโดยใช้วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

วรพงษ์ สุภูตะโยธิน. (2542). การศึกษาพฤติกรรมการสอนวิชาภาษาอังกฤษของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วันทนี ไพรินทร์. (2547). การพัฒนาความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคลองทวีวัฒนา ที่ได้รับการสอนโดยวิธีสอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทาง. สารนิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สิรี แหวนทอง. (2539). ภาษาอังกฤษกับนักเรียนไทย. สารพัฒนาหลักสูตร. 15(1). 51-54.

อดิศา เบญจรัตนานนท์ และคณะ. (2552). กิจกรรมและสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5(2). 173-196.

อรวัลย์ จันทร์อ่อน (2555). พัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ 2 โดยใช้บทสนทนาภาษาอังกฤษจากแถบบันทึกเสียงของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2/9 – 2/11 สาขาภาษาต่างประเทศปีการศึกษา 2555 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2564. จาก http://www.hu.ac.th/ Conference/conference2014/proceedings/data/3511/3511-5.pdf

Arafat Hamouda. (2012). Listening Comprehension Problems-Voices from the Classroom.‏ Language in India. 12(8). 1-49.

Eko, J. and Tina, A. (2000). TPR in the Primary Classroom Skills. Retrieved 24 March 2021. From www.longman-elt.comMcKay
Published
2022-03-22
How to Cite
ศรทัตต์, กฤษณ์ et al. การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้เพลงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 551-565, mar. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/1958>. Date accessed: 26 nov. 2024.
Section
Research Article