การใช้หลักสติสัมปชัญญะในการใช้สื่อดิจิทัลของเด็กปฐมวัย

USING THE PRINCIPLES OF CONSCIOUSNESS IN THE USE OF DIGITAL MEDIA IN EARLY CHILDHOOD

  • เตือนใจ ผางคำ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

Abstract

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สติสัมปชัญญะในการใช้สื่อดิจิทัลของเด็กปฐมวัย
ผลการศึกษาพบว่า เด็กในวัยนี้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วในทุกด้านไม่ว่าจะด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา เด็กวัยนี้จึงจำเป็นต้องเรียนรู้สภาพการณ์ที่เกี่ยวกับการใช้สื่อดิจิทัล เพราะการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างครอบครัวทำให้พ่อแม่ และผู้ปกครองให้เวลากับการอบรมเลี้ยงดูเด็กน้อยลง และนิยมใช้สื่อดิจิทัลเป็นตัวช่วยในการเลี้ยงดูเด็ก เด็กปฐมวัยจึงเข้าถึงและใช้สื่อดิจิทัลมากขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะใช้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะสื่อดิจิทัลประเภทโทรศัพท์มือถือ สมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูจึงนำหลักธรรมเบื้องต้นเข้ามาประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัย ฝึกการมีสติสัมปชัญญะ ให้เด็กสติ สิตินั้นทำให้เกิดสมาธิ และสมาธิทำให้เกิดปัญญา และยังตระหนักถึงข้อควรคำนึงในการนำสื่อดิจิทัลมาใช้กับเด็กปฐมวัย โดยต้องเลือกและใช้สื่อด้วยความระมัดระวังและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็ก พิจารณาและคัดสรรเนื้อหาที่นำเสนอผ่านสื่อดิจิทัลที่เหมาะสมกับวัยของเด็กใช้สื่อดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และสอดคล้องตามแนวปฏิบัติที่เหมาะสมกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ไม่ปล่อยให้เด็กใช้ตามลำพัง และไม่ทดแทนการเล่นและสื่อประเภทอื่น ๆ ด้วยสื่อดิจิทัลเพราะฉะนั้นฝึกสติให้เด็กมีสมาธิอยู่กับปัจจุบันความสำคัญคือ ใจต้องอยู่กับเรื่องเฉพาะหน้าที่ต้องทำ การที่จะมีสมาธิแล้วทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกว่า สัมปชัญญะ

References

ตวงพร ชุมประเสริฐ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์กับการพัฒนาเด็กอายุ 2-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ทัศนา แก้วพลอย. (2544). กระบวนการจัดประสบการณ์พัฒนาการเรียนรู้เด็กปฐมวัย. ลพบุรี : สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

นงเยาว์ นุชนาท และคณะ. (2561). การผลิตทรัพยากรสารนิเทศและนวัตกรรมการจัดการศึกษาเพื่อหนุนเสริมความรู้ ด้านพหุวัฒนธรรมศึกษาในระดับปฐมวัยและประถมศึกษาแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปุณณรัตน์ พิงคานท์. (2564). รูปแบบการใช้สื่อดิจิทัลกับการเรียนรู้ทางสังคมและการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี และคณะ. (2538). วิมุตติมรรค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย.

พระอธิการประกาสิทธิ์ สุจิณฺโณ. (2561). ศึกษาสติสัมปชัญญะที่ปรากฏอยู่ในโพธิปักขิยธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ มะณู. (2559). สื่อดิจิทัล (Digital Media). สืบค้นหาเมื่อ 28 มีนาคม 2565. จาก https:// sites.google.com/a/esdc.go.th/paitoon/sux-dicithal

สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2560). การบริหารจัดการสื่อดิจิทัลเพื่อเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แนวแนะวิธีการเลี้ยงดูดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามสมรรถนะเพื่อเพิ่มคุณภาพเด็กตามวัย 0-5 ปี. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุธิภา อาวพิทักษ์. (2542). การดูแลเด็กปฐมวัย. อุตรดิตถ์ : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์.

เสาวลักษณ์ พันธบุตร. (2560). อยู่อย่างคนร่วมสมัยในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 5(2). 161-167.
Published
2022-10-04
How to Cite
ผางคำ, เตือนใจ. การใช้หลักสติสัมปชัญญะในการใช้สื่อดิจิทัลของเด็กปฐมวัย. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 6, n. 2, p. 684-692, oct. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2029>. Date accessed: 26 nov. 2024.
Section
Academic Article