ผลของโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่มีต่อความสามารถในทักษะการเลี้ยงลูกฟุตซอล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

THE EFFECTS OF CIRCUIT TRAINING PROGRAM ON FUTSAL DRIBBLING SKILL IN MATHAYOMSUKSA 2 STUDENTS

  • ศุภัคษร มูลมี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ธชา รุญเจริญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในทักษะการเลี้ยงลูกฟุตซอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ใช้โปรแกรมการฝึกแบบสถานีระหว่างก่อนและหลังการฝึก 2)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในทักษะการเลี้ยงลูกฟุตซอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ใช้โปรแกรมการฝึกแบบสถานีกับการฝึกแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มแบบยกกลุ่ม แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน ทำการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบสถานี และกลุ่มควบคุม 20 คน ทำการฝึกแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการฝึกแบบสถานี แบบฝึกทักษะการเลี้ยงลูกฟุตซอลแบบปกติและแบบทดสอบความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตซอล ทำการฝึก 10 สัปดาห์ๆ ละ 2 ครั้ง คือวันอังคารและวันพฤหัสบดี และทดสอบความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตซอลก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 10 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


          ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลของโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่มีต่อความสามารถในทักษะการเลี้ยงลูกฟุตซอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลัง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลของโปรแกรมการฝึกแบบสถานีกับการฝึกแบบปกติที่มีต่อความสามารถในทักษะการเลี้ยงลูกฟุตซอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมการฝึกแบบสถานีสามารถพัฒนาทักษะการเลี้ยงลูกฟุตซอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทำให้มีความสามารถในทักษะการเลี้ยงลูกฟุตซอลที่ดีขึ้น

References

คณาธิป จิระสัญญาณสกุล. (2548). คู่มือกีฬาฟุตซอล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไอเดียนสโตร์.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การสอนกีฬา. กรุงเทพฯ : บริษัทสิทธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์.

ชญานันทน์ ไทรศักดิ์สิทธิ์. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาด้วยการฝึกแบบสถานีที่มีต่อทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญชัย ชอบธรรมสกุล. (2547). พลศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธนสิน ชูโชติ. (2551). การสร้างแบบทดสอบทักษะฟุตซอลสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธรรมชาติ นาคะพันธ์. (2557). ผลของโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่มีต่อความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สนธยา สีละมาด. (2555). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สว่างจิต แซ่โง้ว. (2551). ผลการฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายแบบวงจรต่อสุขสมรรถนะของเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Published
2022-03-28
How to Cite
มูลมี, ศุภัคษร; รุญเจริญ, ธชา. ผลของโปรแกรมการฝึกแบบสถานีที่มีต่อความสามารถในทักษะการเลี้ยงลูกฟุตซอล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 151-163, mar. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2110>. Date accessed: 25 nov. 2024.