แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนบาลี สำนักเรียนดีเด่นหนกลาง โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธรรมกาย

GUIDELINE IN DEVELOPMENT OF FACTORS AFFECTING THE ACADEMIC ACHIEVEMENTS OF THE PALI LEARNING STUDENTS IN EXCELLENTPALI LEARNING CENTER UNDER CENTRAL REGION SANGHAADMINISTRATION OFFICE, WAT PHADHAMMAKAYA PARIYATIDHAMMA SCHOOL

  • สิรินุช บุสโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อินถา ศิริวรรณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ระวิง เรืองสังข์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนบาลี 2. ศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนบาลี สำนักเรียนดีเด่นหนกลาง 3. เสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนบาลี สำนักเรียนดีเด่นหนกลาง โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธรรมกาย และประชากรที่ใช้วิจัย ได้แก่ นักเรียนนักเรียนบาลีชั้นประโยค 1-2 ถึง ประโยค ป.ธ.9 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธรรมกาย ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น 622 รูป/คน โดยใช้สถิติคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 242 รูป/คน


            ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจัยด้านผู้เรียน ด้านโรงเรียน ด้านผู้สนับสนุนมีภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ศึกษาแนวทางการพัฒนา 3 ด้าน คือ 1) ด้านผู้เรียน ปลูกฝังทัศนคติ สร้างแรงจูงใจให้นักเรียนอยากเรียนบาลีให้กำลังใจนักเรียนด้วยรางวัล คำชื่นชมให้นักเรียนเรียนร่วมกันเป็นทีม ควบคุมดูแลการใช้สื่อของนักเรียนปรับหลักสูตรบาลีให้มีการเรียนพระไตรปิฏกบูรณาการการสอน นักเรียนเตรียมตัวอ่านหนังสือก่อนเข้าเรียนฝึกจับแง่คิดที่ถูกต้องแนะนำการอยู่ร่วมกันกับหมู่คณะ 2) ด้านโรงเรียนอบรมครู คัดเลือกครูที่มีคุณภาพมีสวัสดิการที่เหมาะสมให้ครูครูต้องพร้อมพัฒนาตนเองให้เวลาครูได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองศึกษาดูงานสำนักเรียนที่ประสบความสำเร็จสร้างบรรยากาศในการเรียนให้เหมาะสม ทุ่มเทงบประมาณเพื่อการศึกษาผู้บริหารสร้างสัมพันธภาพที่ดีและแรงบันดาลใจกับบุคลากรทางการศึกษา แบ่งหน้าที่ชัดเจน หมั่นประชุมเนืองนิตย์ช่วยเหลืองานสำนักเรียนอื่นๆ แสวงหาความร่วมมือและงบประมาณเพื่อพัฒนาการศึกษาห้องเรียนสะอาด และมีอุปกรณ์การเรียนพร้อมใช้งานอยู่เสมอ 3) ด้านผู้สนับสนุนอ่านหนังสือร่วมกันเพิ่มช่องทางการสอบถาม จัดเรียนพิเศษเพิ่มเติมและให้กำลังใจ ไม่ซ้ำเติมนักเรียนที่สอบไม่ผ่าน 3. เสนอแนวทางการพัฒนา 3 ด้าน คือ 1) ด้านผู้เรียน ควรช่วยกันสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนอยากเรียนบาลี ควรจัดสรรให้นักเรียนใช้สื่อได้ในเวลาที่เหมาะสมควรปรับหลักสูตรบาลีให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน มีการสนับสนุนให้นักเรียนได้ค้นคว้าเพิ่มเติม และอบรมการอยู่ร่วมกับหมู่คณะ 2) ด้านโรงเรียน 1. ด้านครู ควรอบรมครูพัฒนาครู จัดสวัสดิการให้เหมาะสม ให้มีการจัดประเมินครู 2. ด้านผู้บริหาร ควรสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกฝ่ายทำร่วมกันเพื่อมุ่งไปสู่ความสำเร็จ จัดให้มีการศึกษาดูงาน กำหนดหน้าที่แต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน และหมั่นประชุม 3. ด้านสภาพแวดล้อม ควรสร้างบรรยากาศที่ดีและจัดให้มีอุปกรณ์การเรียนพร้อมใช้งานอยู่เสมอ 3) ด้านผู้สนับสนุน ควรมีผู้ดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดเมื่ออ่านหนังสือร่วมกันที่กุฏิหรือจัดเรียนพิเศษเพิ่มเติมให้นักเรียน หากนักเรียนไม่เข้าใจไม่กล้าถามปัญหาควรเพิ่มช่องทางในการส่งคำถามและควรให้กำลังใจไม่ซ้ำเติมผู้สอบไม่ผ่าน

References

กนกภรณ์ เทสินทโชติ.(2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

จรัสโฉม ศิริรัตน์.(2559). ปัญหาการติดต่อสื่อสารของบุคลากรในองค์กร: กรณีศึกษาสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 9(1).20-22.

ชลดา ชลสวัสดิ์. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษสูงและต่ำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการบริหารจัดการชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นคร เหมนาค. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

น้ำผึ้ง จันทะสิงห์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอบ่อทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุศรินทร์ มังกรแก้ว. (2553). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนมาลาสวรรค์พิทยา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พ.โพธิทัพพะ. (2533). มาสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงเรียนกันเถอะ. มิตรครู. 32(1). 33-35.

พรจันทร์ โพธินาค. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตที่มีผล การเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรพรรณ แก้วฝ่าย. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยซันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงคปญฺโญ). (2545). การคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564. จาก https://person.mwit.ac.th/01-Statutes/ NationalEducation.pdf

ภูวดล แก้วมณี. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมตั้งใจเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สาธิต วิมลคุณารักษ์ และประยงค์ เนาวบุตร. (2546). ประสบการณ์วิชาชีพประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการบริหารศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สิทธิพันธ์ ชูชื่น.(2556).การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนฝ่ายการศึกษานานาชาติขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุทธิพงษ์ นามเกิด. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา.

สุรวิทย์ พลมณี. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. (2555). พฤติกรรมและการสื่อสารภายในองค์กร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิทธิศักดิ์ ศิริจันทร์ และพิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2562). ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 13(1). 142-156.

Iritani B. J., Cho H., Rusakaniko S., Mapfumo J., Hartman S., &Hallfors D. (2016). Educational outcomes for orphan girls in Rural Zimbabwe: Effects of a school support intervention. Health Care Women Int. 37(3). 301-322.

Park JH, Lee E, Bae SH. (2010). Factors Influencing Learning Achievement of Nursing Students in E-Learning. Journal of Korean Academy of Nursing. 40(2). 182-190.
Published
2022-05-02
How to Cite
บุสโร, สิรินุช; ศิริวรรณ, อินถา; เรืองสังข์, ระวิง. แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนบาลี สำนักเรียนดีเด่นหนกลาง โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธรรมกาย. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 274-288, may 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2121>. Date accessed: 25 nov. 2024.