ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในการใช้บริการสั่งอาหารบนแอปพลิเคชัน 1112 Delivery ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

CAUSAL FACTORS INFLUENCING LOYALTY IN ORDERING SERVICE FOOD ON 1112 DELIVERY APPLICATION OF CONSUMERS IN BANGKOK AND ITS VICINITY

  • ศักดิ์ธานี มานิตกุล วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยรังสิต
  • สมชาย เล็กเจริญ วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยรังสิต

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความภักดีในการใช้บริการสั่งอาหารบนแอปพลิเคชัน 1112 Delivery ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในการใช้บริการสั่งอาหารบนแอปพลิเคชัน 1112 Delivery ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยใช้บริการสั่งอาหารบนแอปพลิเคชัน 1112 Delivery และพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 330 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และโมเดลสมการโครงสร้าง


           ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์ที่เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรับรู้คุณภาพการบริการ 2) ด้านคุณภาพความสัมพันธ์ 3) ด้านความพึงพอใจและ 4) ด้านความภักดี สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ (χ2) =161.62, ค่า CMIN/df =1.43, ค่าองศาอิสระ (df) =113,  ค่า GFI =0.952, ค่า AGFI =0.919, ค่า SRMR =0.03, ค่า RMSEA =0.04และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ =0.64แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความภักดีในการใช้บริการสั่งอาหารบนแอปพลิเคชัน 1112 Delivery  ได้ร้อยละ 64พบว่า ด้านการรับรู้คุณภาพการบริการ ด้านคุณภาพความสัมพันธ์ด้านความพึงพอใจ และด้านความภักดีมีอิทธิพลทางตรงต่อความภักดีตามลำดับ ซึ่งบริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)สามารถนำผลวิจัยไปวางแผนสร้างกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับลูกค้าเพื่อให้เกิดความภักดีของลูกค้าต่อไป

References

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

จิตระวี ทองเถา. (2563). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีผลต่อความภักดีของลูกค้าในการใช้ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม.

ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพฯ : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตติยา คู่มงคลชัย. (2561). ปัจจัยเหตุของความพึงพอใจที่มีต่อความภักดีของลูกค้า: กรณีเว็บไซต์บิวตี้คูล. เพชรบุรี : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปทิตตา ภูวัฒนศิลป์. (2563). การตลาดเชิงประสบการณ์และคุณภาพความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าเบเกอรี่ร้าน เอสแอนด์พีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพฯ : คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

วัชรพงศ์ จันทรดี และบุญฑวรรณ วิงวอน. (2561). การจัดการลูกค้าสัมพันธ์และความพึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของลูกค้าธนาคารออมสินภาค 9. ลำปาง : คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

วันบีลีฟ. (2564). ประโยชน์ของระบบอินเทอร์เน็ต. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2564. จาก https:// www.1belief.com/article/

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis. 7th ed. New York : Pearson.

Motamedifar, A., Nadimi, G., Mojdehi, E. M., Kandsari, A. G., &Razavipour, M. (2013). Relationship between relationship quality (RQ) and customer loyalty (Case Study: Refah stores of Rasht). International Research Journal of Applied and Basic Sciences. 4(7). 1868-1871.

Hoelter, J. W. (1983). The Analysis of Covariance Structures: Goodness-of-fit Indices. Sociological Methods and Research. 11(3). 325-344.

Kline, R.B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. 3rd ed. New York, NY : The Guildford Press.
Published
2022-05-02
How to Cite
มานิตกุล, ศักดิ์ธานี; เล็กเจริญ, สมชาย. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในการใช้บริการสั่งอาหารบนแอปพลิเคชัน 1112 Delivery ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 299-309, may 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2125>. Date accessed: 25 nov. 2024.