การพัฒนารูปแบบความเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู กศน. สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
THE DEVELOPMENT OF MODEL OF LEARNING PERSON OF TEACHERS NON-FORMAL EDUCATION UNDER THE OFFICE OF THE NON-FORMAL AND INFORMAL EDUCATION OF THE NORTH EAST
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู กศน. สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแบ่งออกเป็น 2 ระยะ 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู กศน. จำนวน 240 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น 2) สร้างรูปแบบฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู กศน. จำนวน 6 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น PNI Modified
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับความต้องการจำเป็น ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง ด้านเจตคติ ด้านทักษะ และด้านพฤติกรรม ตามลำดับ 2. ผลการสร้างรูปแบบ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 หลักการและวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 เนื้อหาของรูปแบบ ส่วนที่ 3 กระบวนการพัฒนา ส่วนที่ 4 การประเมินผล และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสําเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
References
ชนิดา กระเบา และสมลักษณ์ พรหมมีเนตร. (2558). ความเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครู กศน.ตำบลสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. ฉบับพิเศษ. 55-62.
ทิศนา แขมมณี. (2546). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
นาถยา ผิวมั่นกิจ. (2554). รายงานการศึกษาปัญหาและความต้องการของหัวหน้า กศน.ตำบลในเขตภาคเหนือ. ลำปาง : สถาบัน กศน.ภาคเหนือจังหวัดลำปาง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บุษกร สุวรรณศรี. (2563). การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูสังกัดสนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปกรณ์ ประจันบาน. (2554). การพัฒนาตัวชี้วัดคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 1(13). 111 - 130.
ประกายทิพย์ โภคสวัสดิ์. (2541). แนวคิดและปรัชญาการศึกษาของ “สังคมแห่งการเรียนรู้”. อินฟอร์เมชั่น. 5(1). 41-45.
ปัทมาภรณ์ ศรีเนตร. (2564). รูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบระดับตำบลเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาผลการสร้างรูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบระดับตำบลเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศักดิ์ เอื้องโชคชัย. (2558). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเยาวชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเจตน์ ภูศรี. (2550). ครูผู้สอนควรรู้อะไรในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 1(1). 7-12.
สรรเพชญ ศิริเกตุ. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สันติ สีลาและวิเชียร รู้ยืนยง. (2564). แนวทางการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11(2). 29-43.
สุดสาคร จันทะล่าม. (2550). พฤติกรรมการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครูโรงเรียนราชประชานุเคราะห์จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เสาวนีย์ แสงใส. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน.ตําบล จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
หนึ่งฤทัย โสภา. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้กับการมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาอุตสาหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Cropley, A.J. (1978). Lifelong education and the training of teachers: Developing a curriculum for teacher education on the basis of the principles of lifelong education. Oxford : Pergamon.
Keevep, P.J. (1988). Educational research, methodology and measurement international handbook. Oxford : Pergamon Press.
Tuijnman, A., Kirsch, S. & Wagner, A. (1997). Adult Basic Skills: Innovations in Measurement and Policy Analysis. USA : Hampton Press.