การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม

THE PROGRAM DEVELOPMENT TO ENHANCE TEAMWORK OF THE HEADS OF LEARNING SUBSTANCES UNDER THE SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE MAHASARAKHAM

  • วชากร บุญสิทธิ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นและพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น   2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้  โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการทำงานเป็นทีมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง  ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการทำงานเป็นทีมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการกำหนดเป้าหมาย และลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์และสัมพันธภาพที่ดีภายนอก การสร้างบรรยากาศที่ดีภายในทีม การให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วม ความไว้วางใจ กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ การแสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตามที่เหมาะสม และการกำหนดเป้าหมาย ตามลำดับ 2. ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ที่ได้พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) ความมุ่งหมายของโปรแกรม 2) หลักการของโปรแกรม 3) โครงสร้างขอบข่ายเนื้อหา  4) วิธีดำเนินการหรือวิธีพัฒนา แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 4.1) เป้าหมายหมายของทีม 4.2) บทบาทผู้นำและผู้ตาม 4.3) ความเข้าใจกันและความสัมพันธ์ในทีม 4.4) การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ 4.5) การสร้างความเข็มแข็งของทีม 5) การวัดและประเมินผล โดยผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ฐิตารีย์ สุขบุตร. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธร สุนทรายุทธ. (2556). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป : ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2553). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

บุตรี จารุโรจน์. (2550). ภาวะผู้นำและการพัฒนาทีมงาน=Leadership and Teamwork Development. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิทยา วิจิตร. (2554). 70:20:10 Framework 2557. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562. จาก http://indochinahub.blogspot.com/2011/08/702010-framework.html

วีระวัฒน์ ดวงใจ. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 และ 23. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. (2564). ทิศทางการพัฒนาคุณภาพ “พัฒนาสู่การเป็น 1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม 1 อาชีพ”. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม.

Baker, D.P. and others. (2006). Teamwork as an Essential Component of High-Reliability Organizations. Health Services Research. 41(4). 1576-1598.

Hall, D. (1999). The use of Dual Planning Periods by a Middle School Team. Dissertation Abstracts International. 59(9). 3003-A.

Robbins, S.P. (2001). Organizational Behavior. 9th ed. Upper Saddle River, NJ. : Prentice-Hall.

Volz-Peacock, M. (2006). Values and Cohesiveness : A Case Study of a Federal Team. Dissertation Abstracts International. 67(5). 25–68
Published
2022-09-19
How to Cite
บุญสิทธิ์, วชากร; จุลสุวรรณ์, สุวัฒน์. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 436-446, sep. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2141>. Date accessed: 25 nov. 2024.