การจัดการความเสี่ยงด้านผลตอบแทนจากการลงทุนของนักลงทุนทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง

THE INVESTORS’ RETURN ON INVESTMENT RISK MANAGEMENT IN THE STOCK EXCHANGE OF THAILAND: THE PROPERTY AND CONSTRUCTION INDUSTRY GROUP

  • พิทักษ์ชน โชติกมลพงศ์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ณัฐภัสสร ธนาบวรพาณิชย์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ปัญญวัฒน์ จุฑามาศ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

Abstract

            การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความเสี่ยงด้านผลตอบแทนจากการลงทุนของนักลงทุนทั่วไปของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ทั้ง 3 หมวดอุตสาหกรรม ได้แก่ หมวดวัสดุก่อสร้าง หมวดบริการรับเหมาก่อสร้าง และหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยใช้อัตราส่วนทางการเงินที่มีผลต่ออัตราเงินปันผลตอบแทนของหลักทรัพย์ ในการอธิบายปัจจัยทางฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของหลักทรัพย์ใน 4 ด้าน ได้แก่ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตรากำไรสุทธิ และอัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวมที่มีต่อผลตอบแทน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ข้อมูลอัตราส่วนทางการเงินที่ได้จากงบการเงินของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมทั้ง 3 หมวดอุตสาหกรรม ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 รวม 60 เดือน จำนวน 66 บริษัท โดยข้อมูลที่นำมาศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิ แบบอนุกรมเวลา เก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ แล้วนำมาทำการทดสอบสมมติฐานด้วยเครื่องมือทางสถิติ ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


            ผลการศึกษาพบว่า ในหมวดวัสดุก่อสร้าง อัตราส่วนทางการเงินที่มีผลต่ออัตราเงินปันผลตอบแทนของหลักทรัพย์ มีจำนวน 13 หลักทรัพย์ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีผลมากที่สุดคือ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน มีจำนวน 8 หลักทรัพย์ รองลงมาคือ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น มีจำนวน 7 หลักทรัพย์ ส่วนด้านที่มีผลต่ำสุดคือ อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม มีจำนวน 1 หลักทรัพย์ ในหมวดบริการรับเหมาก่อสร้าง อัตราส่วนทางการเงินที่มีผลต่ออัตราเงินปันผลตอบแทนของหลักทรัพย์ มีจำนวน 17 หลักทรัพย์ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีผลมากที่สุดคือ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น มีจำนวน 11 หลักทรัพย์ รองลงมาคือ อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม มีจำนวน 9 หลักทรัพย์ ส่วนด้านที่มีผลต่ำสุดคือ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 5 หลักทรัพย์ และในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อัตราส่วนทางการเงินที่มีผลต่ออัตราเงินปันผลตอบแทนของหลักทรัพย์ มีจำนวน 36 หลักทรัพย์ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีผลมากที่สุดคือ อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม มีจำนวน 23 หลักทรัพย์ รองลงมาคือ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน มีจำนวน 19 หลักทรัพย์ ส่วนด้านที่มีผลต่ำสุดคือ อัตรากำไรสุทธิ มีจำนวน 9 หลักทรัพย์ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย คือ ในการจัดการความเสี่ยงด้านผลตอบแทนจากการลงทุนของหลักทรัพย์ กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างควรเลือกใช้ปัจจัยในการวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับหลักทรัพย์และสอดคล้องกับหมวดอุตสาหกรรม

References

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การวิเคราะห์สถิติ : สำหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แก้วมณี อุทิรัมย์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับผลตอบแทนที่คาดหมายของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2552). ผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการบัญชีเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้และการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่มีต่ออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์บัญชีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐริณี ศิวะพรประสงค์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET 100 กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. คณะบัญชี : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). เทคนิคการวิเคราะห์งบการเงินบริษัทจดทะเบียน: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564. จาก http://www.set.or.th

นันทาภา กุลสัมพันธ์โกศล. (2556). การใช้ข้อมูลอัตราส่วนทางการเงินในการเลือกสินทรัพย์ลงทุน:กรณีศึกษาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET). การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัชดาภรณ์ เมฆเสนา. (2557). การลงทุน. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564. จาก https://sites. google.com/a/kkumail.com/savingmoney4u/ministries

วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2552). มิติใหม่ของงบการเงินและการวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ธรรมนิติเพรส.

ศิลป์ชัย ปวีณพงษ์พัฒน์. (2544). ผลกระทบของความสัมพันธ์ระหว่างอุตสาหกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรม และการส่งผ่านข้อมูล. ดุษฎีนิพนธ์บัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สภาวิชาชีพบัญชี. (2550). มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 25 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบกระแสเงินสด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ แอล. ที.

สภาวิชาชีพบัญชี. (2554). มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 7 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง งบกระแสเงินสด.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ แอล. ที.

สภาวิชาชีพบัญชี. (2554). แม่บทการบัญชี(ปรับปรุง 2552). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ แอล. ที.

สุรกิจ คำวงศ์ปีน. (2559). การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน: แนวทางและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ali Bayrakdaroglu. (2017). Relationship Between Profitability Ratios and Stock prices: An Empirical Analysis on Bist-100. Istanbul Finance Congress (IFC). 6(November 2-3). 1-10.

Anwaar, M. (2013). Impact of Firms Performance on Stock Returns (Evidence from Listed Companies of FTSE-100 Index London, UK). Global Journal of Management and Business Research: Accounting and Auditing. 16(1). 30-39.

Norraset Meesuwan. (2015). Stock return predictability with financial ratios: A panel Data analysis in the Stock Exchange of Thailand (SET). Faculty of Economics : Chulalongkorn University.

Özgür, C. (2019). A Panel ARDL Application on the Research of the Relationships between Stock Returns and Financial Ratios. Istanbul Management Journal. 86. 97-112.

Razdar Mohammad. (2013). A Study of Stock Price and Profitability Ratios in Tehran Stock Exchange (Tse). Iran : Research Scholar in Accounting Islamic Azad University, Gonabad Branch.
Published
2022-10-25
How to Cite
โชติกมลพงศ์, พิทักษ์ชน; ธนาบวรพาณิชย์, ณัฐภัสสร; จุฑามาศ, ปัญญวัฒน์. การจัดการความเสี่ยงด้านผลตอบแทนจากการลงทุนของนักลงทุนทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 559-572, oct. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2150>. Date accessed: 25 nov. 2024.