การประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย

AN APPLICATION OF THE FOUR BASES OF SOCIAL SOLIDARITY FOR THE ACTIVITY ADMINISTRATION OF SANGHA IN MAUNG NONGKHAI DISTRICT, NONGKHAI PROVINCE

  • พิมพ์ลภัส นัสบุสย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 2) เพื่อศึกษาหลักสังคหวัตถุ 4 ประการ ในพระพุทธศาสนาเถรวาทและ 3) เพื่อประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ พระภิกษุระดับพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย จำนวน 37 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย มีกรอบการบริหารงาน 6 ด้าน คือ 1) การปกครอง 2) การศึกษา 3) การศึกษาสงเคราะห์ 4) การเผยแผ่ 5) การสาธารณูปการ และ 6) การสาธารณสงเคราะห์ 2. หลักสังคหวัตถุ 4 เป็นหลักธรรมที่ยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล เป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ได้แก่ การให้ การเสียสละ การพูดจาให้สุภาพ การประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และการเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ เพื่อให้การช่วยเหลือด้านปัจจัยต่างๆ การช่วยด้วยถ้อยคำ กำลังคน การร่วมเผชิญแก้ปัญหา มุ่งสงเคราะห์ และประสานคนให้เกิดความสามัคคีเพื่อให้การบริหารจัดการงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ 3. การประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 1) ทาน การให้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นโทษต่อสังคม การเสียสละตนในด้านกำลัง ความสุขส่วนตัว และปัญญาที่พร้อมจะเรียนรู้และเข้าใจผู้อื่น ทั้งที่เป็นอามิสทานและธรรมทาน 2) ปิยวาจา การพูดจาประสานงานด้วยถ้อยคำสุภาพไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ พูดให้เกิดความสามัคคีและมีประโยชน์ 3) อัตถจริยา การประพฤติปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ การขวนขวายช่วยเหลือการเอาใจใส่ในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลผู้อื่น และ 4) สมานัตตตา การทำตนเสมอต้นเสมอปลายถูกต้องตามกาลเทศะ เพื่อเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ ทำงานอย่างเสมอต้นเสมอปลายลดปัญหาด้านการทำงานที่ไม่ต่อเนื่องให้น้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3) อัตถจริยาและ 4) สมานัตตา เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินการบริหารงานคณะสงฆ์ทั้ง 6 ด้าน ลดระยะเวลาในการดำเนินงาน วางคนให้เหมาะสมกับงาน และการทำงานเกิดความคุ้มค่า ทำให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์

References

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2522). คู่มือครูจริยศึกษา. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ.

ฐิตินันท์ สุวรรณศิริ. (2550). การจัดการความรู้ของผู้ตรวจประเมินระบบคุณภาพ สำนักงานรับรอง ระบบคุณภาพ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สร.-ว.ส.ท.. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2565. จาก http://learners.in.th/file/lemonpoo

พระครูโพธิกิตติคุณ (กิตติพงษ์ สุปญฺโญ). (2561). การบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลเชิงพุทธของคณะสงฆ์ ภาค 3. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2552). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง การคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2539). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ : สหมิกธรรม จำกัด.

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาศน์ วาสโน). (2538). สังคหวัตถุ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
Published
2022-12-22
How to Cite
นัสบุสย์, พิมพ์ลภัส. การประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 586-595, dec. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2152>. Date accessed: 25 nov. 2024.