กลวิธีในการขับร้องหมอลำ

STRATEGIES FOR SINGING MO LAM

  • ชัยนาทร์ มาเพ็ชร วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Abstract

           การวิจัยเรื่องกลวิธีในการขับร้องหมอลำมีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา ประเภทและคุณค่า รวมถึงกลวิธีในการขับร้องหมอลำ โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ด้วยการสำรวจ สังเกต สัมภาษณ์ผู้รู้จำนวน 7 คน ผู้ปฏิบัติจำนวน 5 คน จากเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์


           ผลการวิจัยพบว่า 1) หมอลำนับเป็นเป็นอาชีพอย่างหนึ่งที่ต้องใช้ศิลปะการขับร้องชั้นสูงด้วยเหตุที่หมอลำมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น ความไพเราะของท่วงทำนองลำ ปฏิภาณและไหวพริบในการโต้ตอบหรือแสดงเป็นเรื่องราว เนื้อหากลอนลำมักจะแทรกคำกลอน ที่เป็นสุภาษิต คำคม ตลอดจนการให้ความรู้ทั้งด้านคดีโลกและคดีธรรม จึงทำให้หมอลำเป็นการขับร้องชั้นสูง มีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ ได้รับความนิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หมอลำมีบทบาทในการมอบคุณค่าให้แก่สังคม หมอลำในลักษณะของบทเพลง เน้นการโต้ตอบทางคดีโลกและทางคดีธรรม บทบาทของหมอลำต่อชุมชนในด้านการให้ความบันเทิง บทบาทด้านเผยแพร่ศาสนาและรักษาบรรทัดฐานของสังคม บทบาทสะท้อนให้เห็นประเพณีวัฒนธรรมชุมชนในท้องถิ่นเป็นสื่อพื้นบ้านรวมถึงการสร้างเอกภาพทางการเมืองและความคิด 2) กลวิธีในการขับร้องหมอลำของหมอลำฉวีวรรณ ดำเนิน และ หมอลำ ป.ฉลาดน้อย เป็นผู้ที่มีความสามารถด้านน้ำเสียง คำร้อง การเอื้อน จังหวะ การหายใจ และอารมณ์ ที่มี่ความสามารถสูง มีกระแสเสียงในการลำที่ ไพเราะ ก้องกังวาน คุณภาพของเสียงชัดเจน มีการแทรกเอื้อนในระหว่างบทขึ้นอยู่กับบทกลอนลำแบ่งจังหวะตามลักษณะโครงสร้างคำประพันธ์ กลอนลำ ใช้เทคนิคในการเสริมคำ ซ้ำคำ ทำให้บางวรรคมีจังหวะมากกว่าที่กำหนด การหายใจ ขณะร้องเสียงต่ำจะไม่หายใจแรง หลีกเลี่ยงการหายใจทางปากมีเทคนิควิธีการลักการหายใจในระหว่างการเอื้อนเสียงเล่นลูกคอ และ มีความสามารถสื่อความหมายของกลอนลำจดจำกลอนลำได้แม่นยำ จึงทำให้การแสดงอารมณ์และท่าทางมีความสมจริงตามท่วงทำนอง เนื้อหา

References

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2526). ผญาบทกวีของชาวบ้าน. กาฬสินธุ์ : จินตภัณฑ์การพิมพ์.

เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2528). เอกสารประกอบการสอนสิชาดุริยะ 362 ดนตรีพื้นบ้านอิสาน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ธวัช ปุณโณทก. (2532). ภูมิปัญญาชาวบ้านอีสาน : ทัศนะของอาจารย์ปรีชา พิณทองในทิศทางหมู่บ้านไทย. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์.

บุษกร บิณฑสันต์ และขำคม พรประสิทธิ์, (2553). หมอลำ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพบูลย์ แพงเงิน. (2534). กลอนลำ-ภูมิปัญญาของอีสาน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสสมหาเถระ. (2515). พจนานุกรม ภาคอีสาน-ภาคกลาง. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
Published
2023-02-14
How to Cite
มาเพ็ชร, ชัยนาทร์. กลวิธีในการขับร้องหมอลำ. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 596-609, feb. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2153>. Date accessed: 25 nov. 2024.