แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยใช้การมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3

GUIDELINES FOR THE DEVELOPMENT OF SCHOOL CURRICULUM USING PARTICIPATORY FOR SCHOOLS TO EXPAND EDUCATIONAL OPPORTUNITIES UNDER THE OFFICE OF MAHA SARAKHAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 3

  • ยุทธชัย ราชดา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยใช้การมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครู จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.80-1.00 มีค่าอำนาจจำแนก 0.58-0.74 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 ระยะที่ 2 การประเมินแนวทาง โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ประเมินแนวทาง จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยใช้การมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการกำกับดูแลคุณภาพ มีความต้องการจำเป็นในการดำเนินการมากที่สุด 2. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยใช้การมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ จำนวน 4 ด้าน 39 แนวทาง โดยผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า แนวทางการพัฒนา มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรมวิชาการ. (2542). กระบวนการเรียนรู้และยุทธศาสตร์การเรียนรู้. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมนเนจเม้นท์.

กรรณิกา จันสายทอง. (2561). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาแพงเพชร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). FOCUS ประเด็นจาก PISA. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.

คงคา วงค์อามาตย์. (2559). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. (2564). แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

จิรัฐิติกาล บุญอินทร์. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

จิรารัตน์ กระจ่างดี. (2563). การศึกษากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

จิราวรรณ รินทรา. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรสถานศึกษาในอำเภอสามง่าม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริม.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีการศึกษา 2563. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). การส่งเสริม สนับสนุน ภารกิจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในระดับชั้น ม.1-3 ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564. จาก https://www.obec. go.th/archives/482970

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2565). รายงานประจำปี 2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2560). ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(2). 2843-2854.

Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. 3rd ed. New York: McGraw-Hill.
Published
2023-04-18
How to Cite
ราชดา, ยุทธชัย; จุลสุวรรณ์, สุวัฒน์. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยใช้การมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 651-665, apr. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2157>. Date accessed: 25 nov. 2024.