การเสริมสร้างทัศนคติการเรียนรู้ในการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมของนักศึกษาสาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

ENHANCING LEARNING ATTITUDE IN ASSERTIVENESS OF STUDENTS IN THE GOVERNMENT MAHAMAKUT BUDDHIST UNIVERSITY ROI ET CAMPUS

  • จุรี สายจันเจียม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูปลัด ทองใบ สุปภาโส มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • อิศเรศ จิณฤทธิ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • อดิศักดิ์ ทุมอนันต์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • ศุภสิทธิ์ ลินทมาตย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติในการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมของนักศึกษา สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างทัศคติการเรียนรู้ในการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการปกครอง จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวบข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


           ผลการวิจัยพบว่า 1) ทัศนคติในการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมของนักศึกษา สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด อยู่ในระดับมาก จากทัศคติของนักศึกษาการกล้าแสดงออกทำให้เกิดความเชื่อมั่น และนักศึกษาเท่านั้นที่กล้าแสดงออก ซึ่งในมุมมองของนักศึกษาเห็นว่าคนทุกวัยเป็นคนกล้าแสดงออก 2) การเสริมสร้างทัศนคติการเรียนรู้ในการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมของนักศึกษา สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก

References

กฤตภัค ใจกล้า. (2561). พฤติกรรมการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

คัมภีรภาพ คงสำรวย และคณะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. วารสารวิชาการแสงอีสาน. 15(1). 143-154.

ณิรดา เวชญาลักษณ์ (2558). การพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออกโดยใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมติของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารครุพิบูล. 2(1). 29-36.

ธนน ลาภธนวิรุฬห์. (2562). การศึกษาพฤติกรรมการกล้าแสดงออกโดยวิธีการนำเสนอหน้าชั้นเรียนในรายวิชาการขายตรงของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ.

บรรจง ลาวะลี. (2565). การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อแนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำเชิงพุทธของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการรัตนบุศย์. 4(3). 195-204.

พระครูปลัด ทองใบ สุปภาโส(ปะพะลา), จุรี สายจันเจียม, อดิศักดิ์ ทุมอนันต์. (2565). การใช้สื่อออนไลน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาการปกครองท้องถิ่นของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6(2). 188-197.

พัชสุดา กัลป์ยาณวุฒิ (2558). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาระดับ ปวช. และระดับ ปวส. ของวิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ. เชียงใหม่ : วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ.

Johnson. (2004). Mixed Methods Research A Research Paradigm Whose Time Has Come. Educational Researcher. 33. 14-26.
Published
2023-06-08
How to Cite
สายจันเจียม, จุรี et al. การเสริมสร้างทัศนคติการเรียนรู้ในการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมของนักศึกษาสาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 698-706, june 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2162>. Date accessed: 25 nov. 2024.