การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยงเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สังกัดเทศบาลเมืองสุรินทร์

THE DEVELOPMENT OF A SUPERVISION MODEL USING PROCESS COACHING AND MENTORING SYSTEM TO ENHANCE EDUCATIONAL QUALITY OF SCHOOLS, LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATIONS UNDER THE MUNICIPALITY OF SURIN

  • วัชรพงษ์ วันดี กองการศึกษา เทศบาลเมืองสุรินทร์

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยงเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สังกัดเทศบาลเมืองสุรินทร์ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และศึกษาจากประชากรทั้งหมด ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 58 คน 2) สร้างและตรวจสอบความเหมาะสมรูปแบบฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน  เลือกแบบเจาะจง 3) ทดลองใช้รูปแบบฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 15 คน โดยความสมัครใจ และ 4) ประเมินประสิทธิภาพรูปแบบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 11 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น PNI Modified และการทดสอบที


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับความต้องการจำเป็น การเตรียมการชี้แนะมีความต้องการสูงสุด 2. ผลการสร้างรูปแบบ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 หลักการและวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 เนื้อหาของรูปแบบ ส่วนที่ 3 กระบวนการพัฒนา ส่วนที่ 4 การประเมินผล และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสําเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ คะแนนประเมินความรู้ และระดับพฤติกรรมหลังการเข้าร่วมสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมพัฒนา 4. ผลการประเมินประสิทธิภาพมีความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินระดับความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กมลวรรณ รามเดชะ. (2550). การสอนงานปรึกษาและดูแล. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ).

กองการศึกษาเทศบาลเมืองสุรินทร์. (2564). แผนการจัดการศึกษา. สุรินทร์ : เทศบาลเมืองสุรินทร์.

จรัญ น่วมมะโน. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จิระภา ธรรมนําศีล. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ช่วงโชติ พันธุเวช. (2552). การจัดการศึกษาเชิงคุณภาพ SIPPO. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ชาคริยา ชายเกลี้ยง วีรวรรณ จงจิตร ศิริจิรกาล และปรีชา สามัคคี. (2562). รูปแบบการนิเทศแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการวิจัยของครูระดับมัธยมศึกษา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (10). 5344-5361.

ทองคำ อำไพ. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงทพฯ :
สุวีริยาสาส์น.

พัชนี แดนเสนา. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัตนะ บัวสนธ์. (2551). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : คำสมัย.

ลีลาวดี ชนะมาร. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 7. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สายฟ้า หาสีสุข. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนภาษาไทยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วารสารวิชาการแสงอีสาน. 18(2). 97-108.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). การพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุจิตรา ธนานันท์. (2551). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ทีพีเอ็น เพรส.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2559). การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรบนพื้นฐาน 70:20:10 Learning Model. กรุงเทพฯ : เอช อาร์เซ็นเตอร์.

อุทุมพร จามรมาน. (2554). โมเดลคืออะไร. กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

Ambrosetti, A., and J. Dekkers. (2010). The Interconnectedness of the Roles of Mentors and Mentees in Pre-Service Teacher Education Mentoring Relationships. Australian Journal of Teacher Education. 35(6). 41-55.

Blanchard, P.N. and Thacker, W.J. (2004). Effective Training System : System, Strategies and Practices. 2nd ed. New Jersey : Pearson Prentice Hall.

Deming, W.E. (1995). Out of the Crisis. Cambridge. Mass : Massachusetts Institute of Technology.

Glickman, C.D. and others. (2013). Supervision and Instructional Leadership: A Development Approach. 8th ed. Boston : Ally and Bacon.

Mink, O.G., Owen, K.Q. and Mink, B.P. (1993). Developing High-Performance People : The Art of Coaching. The United Sates of America : Addison-Wesley Publishing.

Rolfe, A. (2008). Mentoring Works. Australia : Umina.
Published
2023-03-13
How to Cite
วันดี, วัชรพงษ์. การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยงเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สังกัดเทศบาลเมืองสุรินทร์. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 1, p. 459-473, mar. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2172>. Date accessed: 25 nov. 2024.