การบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร
PARTICIPATORY MANAGEMENT ON GENERAL ADMINISTRATION OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE SPECIAL EDUCATION BUREAU, YASOTHON PROVINCE
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร ตามความคิดเห็นครูและบุคลากร 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร ตามความคิดเห็นครูและบุคลากร จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วม ด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธรประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูและบุคลากร โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร จำนวน 91 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบ t-test (Independent Samples) และแบบวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One - way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธรโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการไว้วางใจ รองลงมา คือ ด้านการตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกันด้านความยึดมั่นผูกพัน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความเป็นอิสระต่อความรับผิดชอบในงาน 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธรจำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน ไม่แตกต่างกัน 3) สรุปแนวทางการมีส่วนร่วมด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดยโสธร จากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้บริหาร จำนวน 6 คน พบว่า ควรไว้วางใจซึ่งกันและกัน เป็นการง่ายที่บุคคลจะมีส่วนร่วมในการทำงาน ตั้งใจทำงานเพื่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงานต้องมีความยึดมั่นผูกพันให้การสนับสนุนช่วยเหลือและฝึกอบรมแก่ผู้ปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ การกำหนดเป้าหมายของผู้บริหารมีส่วนกำหนดมาตรฐานในการทำงานและการประเมินประสิทธิภาพของระบบ ควรให้ความเป็นอิสระในการทำงานไม่ว่าจะเป็นด้านความเป็นอิสระในการจัดตารางในการทำงาน ความเป็นอิสระในการตัดสินใจในการทำงาน และความเป็นอิสระในการเลือกวิธีในการทำงาน
References
สมยศ นาวีการ. (2545). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ 1991 จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). ภาพอนาคตและกลยุทธ์:เราจะใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียนได้อย่างไร. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพการศาสนาฯ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สุมาลี ลิ่มเจียลหพงษ์. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
หฤทธิ์ เขียวสะ. (2562). การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อุทัย ดุลยเกษม, อรศรี งามวิทยาพงศ์. (2549). ระบบการศึกษากับชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนวิจัย.
Robbins, S.P. (1990). Organization Theory Structure, Design, and Applications. Englewood Cliffs. New Jersey : Prentice-Hall.