การบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3
THE STUDENT AFFAIR MANAGEMENT BASED ON THE FOUR SUBLIME STATES OF MIND OF THE SCHOOL UNDER BURIRAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำแนกตาม ตำแหน่งหน้าที่ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางในการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู หรือบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าเอฟเทส (F-test) แบบวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจะทำการวิเคราะห์เป็นรายคู่ โดยวิธีการเปรียบเทียบพหุคูณแบบ LSD
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการปฏิบัติในการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านงานแนะแนว รองลงมา คือ ด้านงานกิจกรรมนักเรียน ด้านงานปกครองนักเรียน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านงานบริการให้แก่นักเรียน 2) การเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติในการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะและแนวทางในการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 พบว่า ควรใส่ใจทุ่มเทมากๆ มีเมตตา ใช้ความสุข ความเมตตาต่อเด็กนักเรียน ทำด้วยความเต็มใจและเท่าเทียม ดูแลนักเรียนโดยอิงกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ควรได้รับ จัดหลักสูตรการแนะแนวที่ตรงกับวัยของนักเรียน
References
คมสันติ์ สิงห์รักษ์. (2560). การบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนเอกชน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
พระธวัชชัย ถาวโร (กันยา). (2560). การบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภารดี อนันต์นาวี. (2552). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง. ชลบุรี : มนตรี.
สงบ ประเสริฐพันธ์. (2543). ร่วมกันสรรค์สร้างคุณภาพโรงเรียน. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607 – 610.