รูปแบบการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้แนวคิดวงจรคุณภาพเดมมิ่งสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1

THE STUDENT CARE AND SUPPORT SYSTEM OPERATION MODEL THROUGH DEMING CYCLE FOR SCHOOLS UNDER THE LOEI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

  • ญาดา สังขภิญโญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ลักขณา สริวัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 2) สร้างรูปแบบการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้แนวคิดวงจรคุณภาพเดมมิ่งสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูหัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 164 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูหัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 6 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่ม จำนวน 7 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา แบบสัมภาษณ์โรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) แบบบันทึกการสนนากลุ่ม และแบบสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้แนวคิดวงจรคุณภาพเดมมิ่งสำหรับสถานศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น     


          ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับความต้องการจำเป็น ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ปัญหา และด้านการส่งต่อ ตามลำดับ 2. รูปแบบการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้แนวคิดวงจรคุณภาพเดมมิ่งสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ประกอบด้วย 6 ส่วน ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาของรูปแบบ มี 5 หน่วย ได้แก่ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ปัญหา และการส่งต่อ 4) กระบวนการดำเนินงาน ประกอบด้วย ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินการ ขั้นตรวจสอบ และขั้นปรับปรุงพัฒนา 5) การประเมินผล และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรมสุขภาพจิต. (2551). คู่มือครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3-4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิตราพร สุทธิสาร. (2562). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นพเก้า ทองธรรมมา. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นลินทิพย์ พรหมสังข์ และเด่น ชะเนติยัง. (2558). รูปแบบการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม แก่นักเรียนประถมศึกษา ให้เติบโตเป็นคนดีของสังคมไทย. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 28(1). 31-32.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พรวิมล กลิ่นศรีสุข. (2564). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มธุรส ผุดผ่อง. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ชุมชนโรงเรียนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มิญช์มนัส วรรณมหินทร์ สลางสิงห์. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ลัดดาวัลย์ โคตรพิมพ์. (2564). แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สวัสดิ์ วันภูงา. (2564). การพัฒนารูปแบบการใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สันติสุข สันติศาสนสุข และคณะ. (2559). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ : สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565. เลย : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. (2564). รายงานผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2563. เลย : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรโรงเรียนประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). คู่มือการสรรหาและคัดเลือกสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียน ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพฯ : ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). คู่มือการสรรหาและคัดเลือกสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2564. กรุงเทพฯ : ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน หลักการ แนวคิดและทิศทางในการดำเนินงาน. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2561). เอกสารประกอบคำสอน รายวิชา 0501 502 หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติทางการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Cha, J. (2009). Shopping on social networking web sites: Attitudes toward real versus virtual items. Journal of Interactive Advertising. 10(1). 77-93.
Published
2023-12-05
How to Cite
สังขภิญโญ, ญาดา; สริวัฒน์, ลักขณา. รูปแบบการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้แนวคิดวงจรคุณภาพเดมมิ่งสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 44-58, dec. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2287>. Date accessed: 26 nov. 2024.