ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานทั่วไปในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3
NEEDS FOR THE DEVELOPMENT OF GENERAL ADMINISTRATION IN THE DIGITAL AGE OF SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF MAHASARAKHAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 3
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารงานทั่วไปในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 246 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 0.67 – 1.00 และความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified)
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารงานทั่วไปของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก 2. ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานทั่วไปในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาโดยเรียงตามลำดับความสำคัญเป็น ดังนี้ 1) งานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม และงานกิจการนักเรียน 2) งานประชาสัมพันธ์การศึกษา 3) งานธุรการ และ 4) งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามลำดับ
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แนวทางปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
กิติมา ปรีดีลก. (2552). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรพิพัฒน์.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2559). อนาคตใหม่ของการศึกษาไทยในยุค Thailand 4.0. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563. จาก http://www.li.mahidol.ac.th/conference2016/thai land4.pdf
เข็มเพชร แก่นสา. (2553). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : สยามการพิมพ์.
คมศร วงษ์รักษา. (2540). การเปรียบเทียบคุณภาพและความสอดคล้องของเทคนิคการจัดเรียงลำดับความสำคัญที่อิงโมเดลความแตกต่างในการประเมินความต้องการจำเป็น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
จริยา เอียบสกุล. (2549). สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการสอนเป็นเรื่อง/เป็นชิ้นงาน/เป็นโครงการของครูช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
จันทรา ยิ้มเข็ม. (2557). แนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2552). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษากับการสอนระดับอนุบาล คณะครุศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2554). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทะนงศักดิ์ ปักโคทานัง. (2557). การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาตร มหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. คณะวิทยาลัยการเมืองการการปกครอง : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานการศึกษา. (2562). แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : สำนักงานการศึกษา.