การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
THE OPERATION OF STUDENT CARE AND SUPPORT SYSTEM OF SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF KHON KAEN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 1
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 2)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน เกี่ยวกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จำแนกตามตำแหน่งและเพศ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 32 คน ครูผู้สอน 284 คน รวมทั้งสิ้น 316 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยภาพรวม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับดังนี้ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการส่งต่อนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียน ด้านการคัดกรองนักเรียน 2. ผลการศึกษาการเปรียบเทียบเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จำแนกตามตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการส่งต่อนักเรียน ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนไม่แตกต่างกัน
References
กรมสุขภาพจิต. (2551). คู่มือครูระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัด. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
จันทร์ฉาย ไทยรัตน์. (2561). การบริหารและการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่ดีของนักเรียนโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย.การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊คพ้อยท์.
ณัฏฐ์ดนัย รุ่งกลิ่นขจรกุล.(2559). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอด่านช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ณัฐริน เจริญเกียรติบวร. (2557). โมดูลการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปุญชรัศมิ์ พันธุวัฒน์. (2561). การพัฒนาโปรแกรมการคัดกรองนักเรียนของโรงเรียนพร้าววิทยาคมจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
พรศักดิ์ ผกากรอง. (2562). การศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
มธุริน แผลงจันทึก. (2554). การศึกษาปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
สุภัสสร สุริยะ.(2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสสังกังกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยสยาม.
อัษฎายุท โพธิ์นอก. (2558). สภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
S.M. Jackson. (2017). The effects of a cognitive – behavioral group counseling intervention that emphasizes self-management techniques on the classroom behavior and self-efficacy of middle school students. Retrieved 27 August 2017. From http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22221447