การศึกษาข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนอง ข้อสอบแบบ 1 พารามิเตอร์

A STUDY OF MATHEMATICAL LEARNING DEFECTS ON FRACTIONS IN PRATOMSUKSA 5: AN APPLICATION OF THE 1-PARAMETER ITEM REPONSE THEORY

  • จันจิรา ไกรวิชัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พนิดา พานิชวัฒนะ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 2) วิเคราะห์ข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนระกับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำแนกตามตัวชี้วัดและเนื้อหาโดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนวัดสุทธาราม และโรงเรียนวัดสุวรรณ สำนักงานเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 ข้อ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าความสามารถโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบ 1 พารามิเตอร์


           ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน   ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมทั้งค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบและค่าความสามารถผ่านเกณฑ์ แสดงให้เห็นว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2. ผลการวิเคราะห์ข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำแนกตามตัวชี้วัดและเนื้อหา 2.1 ข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำแนกตามตัวชี้วัด ตัวชี้วัด ป.5/3 หาผลบวก ผลลบของเศษส่วนและจำนวนคละ เมื่อพิจารณาจากคะแนนสอบและค่าความสามารถ นักเรียนส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ แสดงให้เห็นว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีข้อบกพร่อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ผลการประเมินข้อบกพร่องระหว่างคะแนนสอบและค่าความสามารถมีความสอดคล้องกัน และตัวชี้วัด ป.5/4 หาผลคูณ ผลหารของเศษส่วนและจำนวนคละเมื่อพิจารณาจากคะแนนสอบนักเรียนส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ แสดงให้เห็นว่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีข้อบกพร่อง และเมื่อพิจารณาจากค่าความสามารถนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์ แสดงให้เห็นว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีข้อบกพร่องซึ่งสามารถสรุปได้ว่า ผลการประเมินข้อบกพร่องไม่สอดคล้องกันระหว่างคะแนนสอบและค่าความสามารถ 2.2 ข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำแนกตามเนื้อหา เมื่อพิจารณาจากคะแนนสอบและค่าความสามารถในเนื้อหาเรื่อง การบวก ลบ คูณ หารของเศษส่วนและจำนวนคละ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์ แสดงให้เห็นว่านักเรียนส่วนใหญ่มีข้อบกพร่อง ซึ่งผลการประเมินสอดคล้องกัน ขณะที่เนื้อเรื่อง การหารเศษส่วน เมื่อพิจารณาจากคะแนนสอบพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ แต่เมื่อพิจารณาจากค่าความสามารถพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า ผลการประเมินข้อบกพร่องไม่สอดคล้องกันระหว่างคะแนนสอบและค่าความสามารถ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ณัฐดนัย เนียมทอง.(2561). คณิตศาสตร์กับกระบวนการการเรียนรู้ด้วยตนเอง. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2565. จาก https://www.scimath.org/article-mathematics

เนาวรัตน์โตประศร. (2555). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT. วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6(1). 61-68.

พิเชษฐ์ เต็งหิรัญ. (2561).การศึกษาข้อบกพร่องทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมุสลิมสันติธรรมมูลนิธิ. วารสารบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2(1). 1-10.

ภัทรวดี ยศสิริพิมล. (2563).ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ที่มีต่อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยรามคำแหง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 23(2). 1-10.

ราตรี ปาละนันทน์. (2561). การสร้างแบบสอบเพื่อวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนเรื่อง เศษส่วนและทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ลลิตา ดารมย์. (2562). การวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรียนพญาไท. วารสารบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2(1). 1-9.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์ และยุพาวรรณ ศรีสวัสดิ์. (2554).การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาส. 3(1). 104-112.

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. (2560). หนังสือเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 1 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.) จำกัด.

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัย : หลักการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์:แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

อัมพร ม้าคนอง. (2536). รายงานการวิจัยเรื่องการวินิจฉัยข้อผิดพลาดทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร.คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Wijaya, A., Retnawati, H., Setyaningrum, W., Aoyama, K., &Sugiman. (2019). Diagnosing students’ learning difficulties in the eyes of Indonesian mathematics teachers. Journal of Mathematics, Science and Technology Education. 16(6). em1849.
Published
2023-12-05
How to Cite
ไกรวิชัย, จันจิรา; มาสันเทียะ, จุฑาภรณ์; พานิชวัฒนะ, พนิดา. การศึกษาข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนอง ข้อสอบแบบ 1 พารามิเตอร์. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 116-128, dec. 2023. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2294>. Date accessed: 26 nov. 2024.