การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1
PARTICIPATORY ADMINISTRATION OF SCHOOL ADMINISTRATORS AFFECTING THE LEARNING MANAGEMENT EFFICIENCY OF TEACHERS IN EDUCATIONAL INSTITUTIONS UNDER YASOTHON PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา 3) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณารายด้านพบว่า ด้านการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณารายด้านพบว่า ด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา คือ ด้านความไว้วางใจด้านการมีส่วนร่วมวางแผนและกำหนดเป้าหมายด้านความผูกพันต่อองค์กรโดยตัวแปรทั้ง 3 ร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 23.20 (R2 = .232) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
เฉลิมชัย ขัดเกลา และคณะ. (2562). ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(2). 63–77.
ชิตพล สุวรรณผา และ ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข. (2557). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ด้านผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 8(1). 95–104.
ชุติกาญจน์ สกุลเดช. (2552). การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนของครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นุชลี อุปภัย. (2555). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรนภา กิตติวิภาส และคณะ. (2562). การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของครูกับประสิทธิภาพการสอนของครูในกลุ่มโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 6(2). 103–112.
วสันต์ สัตยคุณ. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิบูลอร นิลพิบูลย์.(2563). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563. ยโสธร : กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานผลการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) ของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
Bloom, B.S. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York : McGraw–Hill.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.
Medley,D.M. (2003). Evaluation of Research on Teacher. In The International Encyclopedia of Education. New York : Pergamon Press.
Rojas, Ronald R, (2000). A Review of Models for Measuring Organizational Effectiveness Among for – Profit Nonprofit Organizations. Nonprofit Management & Leadership. 11(1). 97-104.