การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน เรื่อง พลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
DEVELOPMENT OF A LEARNING MANAGEMENT MODEL ON THERMAL ENERGY FOR DEVELOPING ANALYTICAL THINKING AND SCIENTIFIC PROCESS SKILLS CONSISTENT WITH THE BRAIN-BASED LEARNING CONCEPT AMONG GRADE 7 STUDENTS
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อสร้างการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน เรื่อง พลังงานความร้อน 3) เพื่อทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน เรื่อง พลังงานความร้อน และ 4) เพื่อศึกษาผลการใช้การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด การใช้สมองเป็นฐาน เรื่อง พลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 จำนวน 27 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน เรื่อง พลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) และข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานเอกสารและข้อมูลพื้นฐานบุคคล จากข้อมูลดังกล่าวที่นำมาใช้กำหนดนิยาม ความสามารถ พฤติกรรมบ่งชี้และแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน เรื่อง พลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1. หลักการแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3. ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ไว้ 6 ขั้นตอน 4. ระบบสังคม 5. หลักการตอบสนอง 6. ระบบสนับสนุน 2. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐานเรื่อง พลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยผู้เชี่ยวชาญมีผลการประเมินโดยรวมเฉลี่ยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน เรื่อง พลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน เรื่อง พลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กวินนาฏ เสียงเลิศ. (2560). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยการดำรงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
จุฑาทิพย์ ทิพเนตร. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นภารัตน์ ศรีคำเวียง. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมที่มีต่อมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
นุจเนตร อินธิดา. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น กับแนวคิดประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เปรมสิณี ช่างยา. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิชย์.
วิริมล พละวัตร. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมนึก ภัททิยธนี. (2549). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
สมสุข ธีระพิจิตร. (2545). ประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะและวิทยวิธีทางวิทยาศาสตร์. นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2558). ผลประเมินสถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน รอบสาม (พ.ศ. 2554-2558). กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุวิทย์ มูลคํา. (2550). กลยุทธ์การสอนวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
อัจฉรา สิงห์สร. (2560). การพัฒนาความสามารถในการโต้แยังและการคิดวิเคราะห์จากการเรียนประเด็นปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนแบบผสมผสานตามรูปแบบสมองเป็นฐานกับวิธีการเรียนแบบปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์ต่างกัน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.