พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ได้ที่มารับบริการคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าลุมภู ตำบลบุ่งแก้ว อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี
FOOD CONSUMPTION BEHAVIOR OF PATIENTS WITH UNCONTROLLED DIABETES MELLITUS (DM) RECEIVING DIABETES CLINIC’S SERVICE AT THA LUM PHU SUB-DISTRICT HEALTH PROMOTION HOSPITAL, BUNG KAEW SUB-DISTRICT, NON SA-AT DISTRICT, UDON THANI PROVINCE
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่มารับบริการคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าลุมภู 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่มารับบริการคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าลุมภูและ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่มารับบริการคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าลุมภู ตำบลบุ่งแก้ว อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าลุมภู ตำบลบุ่งแก้ว อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี จำนวน 367 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลภาครัฐ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 10 คน ที่มาใช้หาข้อมูลในการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่มารับบริการคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าลุมภู ตำบล บุ่งแก้ว อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี ตัวแปรตามอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่มารับบริการคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าลุมภู ตำบลบุ่งแก้ว อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี โดยรวมทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ (X4) ด้านการรับรู้ผลประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ (X3) และด้านโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน (X1) ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .421 .275 และ .040 ตามลำดับ 3. แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่มารับบริการคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าลุมภู ควรมีการรับประทานอาหารครบห้าหมู่ทุกวันอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งควรการรับประทานครบทั้งสามมื้อในแต่ละวันหลีกเลี่ยงน้ำหวาน น้ำอัดลม ทั้งเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และออกกำลังกายสามวันต่อเนื่องวันละไม่น้อยกว่า 30 นาทีต่อสัปดาห์ ปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกายเพื่อความปลอดภัยที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
References
ก้องกิดากร บุญช่วย และคณะ. (2563). การแสวงหาและการใช้สารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชนแออัดจังหวัดสงขลา. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.
จงมณี สุริยะ. (2556). โปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.
จิรพรรณ ผิวนวล และคณะ. (2561). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับนำตาลในเลือดไม่ได้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแก้วในตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 1(2). 46-61.
พรทิพย์ สมตัว. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุข. คณะสาธารณสุขศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
วินัฐ ดวงแสนจันทร์ และคณะ. (2564). การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมและพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 15(38). 428-442.
สุวิมล ติรกานันท์. (2553). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row Publications.