แนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโดยใช้วงจรเดมมิ่ง สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม

GUIDELINES FOR SCHOOL CURRICULUM MANAGEMENT USING THE DEMING CIRCUIT FOR SMALL SCHOOLS IN MAHASARAKHAM SECONDARY EDUCATION AREA

  • ศุภวารี สิงโสม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สินธะวา คามดิษฐ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาและเพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโดยใช้วงจรเดมมิ่ง สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึ่งประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานหลักสูตรสถานศึกษา และครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโดยใช้วงจรเดมมิ่ง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 6 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


           ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จากกระบวนการทั้ง 4 ด้าน 28 แนวทาง และความต้องการจำเป็น เรียงลำดับค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของกระบวนการจากมากไปน้อย ได้แก่ กระบวนการด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา ด้านการส่งเสริมสนับสนุนหลักสูตร ด้านการกำกับติดตามและประเมินผลหลักสูตร และด้านการจัดทำและใช้หลักสูตร ตามลำดับ ส่วนแนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโดยใช้วงจรเดมมิ่ง มีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง พบว่า ทั้งสองด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชวลิต ชูกําแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชาญณรงค์ พันธ์แก่น. (2561). การพัฒนาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาภาษาถิ่นอีสานใต้จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.

ธีระเดช เรือนแก้ว. (2560). แนวทางการพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นัยนา บุญหล้า. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับโรงเรียนคาทอลิก ในสังกัดสังฆมณฑลอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พัชราภรณ์ พานทอง. (2560). ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ของครูโรงเรียนกีฬาจังหวัด สุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

มารุต พัฒนผล. (2553). จากหลักสูตรแกนกลางสูตรหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการทัศน์ใหม่การพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

รุจิร์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม. (2545). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

วสุ อังศุเกียรติถาวร. (2560). การศึกษาการบริหารหลักสูตรรายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์. (2542). การพัฒนาหลักสูตรสานต่อที่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บริษัทเซ็นเตอร์ดิสคัฟเวอรีจำกัด.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2543). กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาหลักสูตร. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศักดิ์ศรี ปาณะกุล. (2550). การประเมินหลักสูตร. กรุงเทพฯ : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สันต์ธรรม บำรุง. (2525). หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

สำนักงานเขตพื้นที่การการศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2563. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม.

สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวความคิดพื้นฐานการสร้างและพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่ : The Knowledge Center.

สุนีย์ เหมะประสิทธิ์. (2537). การพัฒนาหลักสตูรและการสอนในระดับประถมศึกษา เอกสารประกอบการสอนวิชา ปถ. 511. กรุงเทพฯ : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

สุริยา ทองจรัส. (2559). การศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

อุมาพร หล่อสมฤดี. (2545). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Published
2022-09-19
How to Cite
สิงโสม, ศุภวารี; คามดิษฐ์, สินธะวา. แนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโดยใช้วงจรเดมมิ่ง สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, [S.l.], v. 7, n. 2, p. 242-254, sep. 2022. ISSN 2730-2644. Available at: <http://202.29.86.169/index.php/jbpe/article/view/2304>. Date accessed: 26 nov. 2024.