การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารงานวิชาการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2
PARTICIPATION OF PERSONNEL IN ACADEMIC ADMINISTRATION BASED ON 7 PRINCIPLES OF SAPPURISADHAMMA UNDER THE ROI-ET PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 2
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารงานวิชาการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2)เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารงานวิชาการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 จำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน 3)เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารงานวิชาการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 341 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่า t-test, F-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารงานวิชาการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา รองลงมา ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการจัดการแหล่งเรียนรู้ 2.ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารงานวิชาการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการบริหารงานวิชาการตามหลัก สัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 สรุปได้ว่า ควรจัดทำหลักสูตรต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพของปัญหา เหมาะสมกับความต้องการของนักเรียน ชุมชนและท้องถิ่น สอดรับกับหลักสูตรแกนกลาง เน้นการวัดผลอย่างหลากหลายวิธี จัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้และผลการวิจัย
References
โชคระวี เจียมพุก. (2561). กระบวนการนิเทศของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลนครปฐม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธารทิพย์ ดำยศ. (2561). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3.
วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ประภาศิริ คูนาคา. (2560). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปริศนา สำเนียงแจ่ม. (2558). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดเทศบาล จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้วงจรคุณภาพ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
พระราชวุธปญฺญาวชิโร (เพชรไพร). (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สาวินิตย์ ดวงสนาม. (2561). การนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตอุตสาหกรรม สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 (2563). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ร้อยเอ็ด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2.
อนุศิษฏ์ นากแก้ว. (2564). การนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การการศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(6). 85-96.
Krejcie & Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 07-610.
Miller. (1965). Administration of American School. New York : Mc Millan Publishing.